หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

สมอง Brain

บทนำ
               วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันก้าวหน้าไปถึงขั้นที่เราจะสามารถศึกษาความสุขและความทุกข์ได้   การที่เราจะกำหนดความสุขให้อยู่กับเราไปนานๆเราต้องรู้จักปล่อยวางเรื่องที่เกิดขึ้นในแต่ละวันของเรา แต่ความทุกข์ก็เป็นสิ่งจำเป็น  หากใครใช้ความทุกข์เป็นเขาคนนั้นจะเป็นคนทีมีเหตุผลทางความคิดมาก ความรู้เป็นของมีค่า  เป็นเครื่องมือในการหาเลี้ยงชีพ  แต่ความรู้และทรัพย์สินก็คงยังไม่พอที่จะทำมนุษย์มีความสุขไปตลอด   แต่ถ้าเราปล่อยให้ความทุกข์อยู่กับเราไปนานๆก็ไม่ดี  เราต้องคิดเสมอว่า  ทุกข์ได้ ก็ สุขได้เช่นกัน   เมื่อเราเข้าใจสมองเราก็จะเข้าใจอารมณ์ของตนเอง เราก็จะสามารถทำชีวิตให้มีความสุขได้และลดทอนความทุกข์ได้เป็นอย่างดี
                      ความสุขทำให้คนฉลาดได้  คนที่มีความสุขมากๆนอกจากหน้าตาแจ่มใส  ผิวพรรณดีแล้วลึกเข้าไปในสมอง  จะมีสารเคมีที่หลั่งออกมาบำรุงสมองเป็นจำนวนมากสารเคมีทำให้สมองโล่งและตื่นตัว  สารเอนดอร์ฟีนเป็นสารที่หลั่งออกมาในสมองในตอนที่เรามีความสุขทำให้เรียนรู้ดี   เข้าใจง่ายขึ้น  ส่วนสารโดพามีนเป็นสารที่หลั่งออกมาเมื่อเรามีความสุขแบบปลื้มใจโดพามีน มีความพิเศษคือเป็นสารแห่งความจำช่วยให้เราจำข้อมูลต่างๆได้ดี    คนฉลาดจะต้องดูแลให้ชีวิตของเขาเป็นสุขอยู่เสมอ และคนที่มีความสุขนั้นจะมีต้นทุนทางสมองสูงพอที่จะพัฒนาเป็นความฉลาดได้    การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการทำหน้าที่ต่างๆของชิวีตคน                                                                                                                                                                                                                                                             สมองเป็นศูนย์การควบคุมการสั่งการ การจดจำ การคิดและความรู้สึกต่างๆ ของชีวิตของมนุษย์ ประกอบด้วยตัวเซลล์ประมาณ 10 พันล้านตัว ถึง 12 พันล้านตัว แต่ละตัวมีเส้นใยที่เรียกว่า แอกซอน (Axon) และเดนไดรต์(Dendrite) สำหรับให้ กระแสไฟฟ้าเคมี(Electrochemical) แล่นผ่านถึงกัน การที่เราจะคิด หรือจดจำสิ่งต่างๆ นั้น เกิดจากการเชื่อมต่อของกระแสไฟฟ้าในสมอง โดยการทำงานของสมองจะทำงานกันเป็นกลุ่ม คือ เซลล์ประสาทจะมารวมกันเป็นกลุ่มแล้ว ทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง เซลล์ประสาทเหล่านี้จะติดต่อถึงกัน ทำให้เกิดการทำงาน มีกระแสไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลา และสามารถแสดงผลการทำงานที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แม้ในยามหลับ หรือหมดสติ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมอง จะมีลักษณะเป็นคลื่นไฟฟ้าซึ่งมีความถี่ที่มีรูปแบบ เฉพาะอยู่ในเซลล์ประสาท และเมื่อมีข้อมูลใหม่ๆ เข้าไปในสมองกระแสไฟฟ้าจะมีคลื่นความถี่ที่มีรูปแบบเฉพาะ
                  ระบบประสาท ( Nervous system )  เป็นระบบที่เป็นจุดศูนย์กลาง  การทำงานต่างๆของร่างกาย  โดยมีหน้าที่ที่สำคัญได้แก่  การกระตุ้น และ  ควบคุมการเคลื่อนไหว  การรับความรู้สึกจากสิ่งเร้าที่มากระตุ้นทั้งภายในและภายนอกร่างกาย  ควบคุมพฤติกรรม  การเรียนรู้ ความจำ  ความคิด  และการตอบสนองทางอารมณ์
                  ระบบประสาทแบ่งตามโครงสร้างได้เป็น
1.      ระบบประสาทส่วนกลาง  (central  nervous  system )
2.      ระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral  nervous system )
ระบบประสาทส่วนกลาง( Central Nervous  system , CNS )
ระบบประสาทส่วนกลางจะประกอบไปด้วย สมอง (brain) และไขสันหลัง (spinal  cord)  ซึ่งระบบประสาทส่วนกลางจะทำหน้าที่ในการประมวลรวบรวมข้อมูลที่ได้รับทั้งจากระบบการรับความรู้สึก และการเคลื่อนไหวโดยข้อมูลจากการรับความรู้สึกก็มาจากสิ่งกระตุ้นทั้งภายในและภายนอกร่างกาย  ส่วนการควบคุมนั้นจะควบคุมโดยเซลล์ประสาทสั่งการ (motor  neuron)  ผ่านมาทางเส้นประสาทสั่งการ( motor nerve)  ลงมาควบคุมให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวและยังทำให้ร่างกายเกิดสมดุล (balance) นอกจากนี้ยังมีหน้าที่เกี่ยวกับ ความจำความฉลาด การเรียนรู้  และแสดงอารมณ์ต่างๆ

1.              โครงสร้างของสมอง
สมอง Brain
โครงสร้างของสมอง
                สมอง  มนุษย์มีสมองที่มีการพัฒนามากที่สุด
                สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน  ได้แก่
1.             สมองส่วนหน้า (Prosencephalon หรือ Forebrain ) แบ่งเป็น
1.1 Telencephalon  ได้แก่Cerebral  hemisphere  หรือ  cerebrum  และ  Deep  Terencephalon   nuclei  ( basal  ganglia)
1.2  Diencephalon  หรือ  Thalamum
2.    สมองส่วนกลาง  (Mesencephalon  หรือ Midbrain )  ประกอบด้วย  Corpora  Quadrigemina  และ  Cerebral  peduncle
3.   สมองส่วนหลัง  (Rhombencephalon  หรือ  Hind Brain)แบ่งเป็น 
                3.1  Metencephalon   ได้แก่  Pons  และ   Cerebellum
                3.2  Myelencephalon  ได้แก่  Medulla  oblongata
สมองส่วนหน้า  (  Prrpsencephalon)
                                Cerebral  Hemisphere  สมองส่วนนี้มี  2 ข้าง  มาเชื่อมกันตรงกลางด้วย  Corpus  callusum  ส่วนเปลือกนอกเรียกว่า  Cerebral  cortex  มีลักษณะเป็นลอนส่วนนูน  เรียกว่า  gyrus  และมีร่องเรียกว่า  Sulcus
ถ้าเป็นร่องลึกๆเรียกว่า  Fissure  ซึ่งในส่วนเปลือกนี้เป็นที่อยู่ของเซลล์ประสาท  เนื้อข้างในจะเป็น  White  matter
ซึ่งประกอบด้วย เส้นประสาท  Nerve  fibers
                                 Cerebral  Hemisphere   แต่ละข้างจะแบ่งเป็นกลีบๆ  โดยร่องที่ลึกเป็น  5 กลีบ  ได้แก่   frontal  lobe   parietal  lobe   temporal  lobe   occipital  lobe  insula lobe
                                                Frontal  lobe  เป็นกลีบหน้าของสมองแยกจาก   parietal  lobe  ด้วยร่องชื่อ  central  sulcus  และแยกจาก  temporal  lobe  ด้วยร่องชื่อ  lateral  sylvian  fissure  ด้านหน้า  central  sulcus
                                                Parietal  lobe  เป็นกลีบที่อยู่ต่อหลัง central  sulcus  แยกออกจาก  occipital  lobe โดยร่องที่อยู่ด้านในมีชื่อว่า  parieto  occipital fissure  ลอนที่อยู่หลังต่อ   centrel  sulcus  มีชื่อว่า  postcentral  gyrus  จะเป็นบริเวณที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความรู้สึกร่างกายด้านตรงข้าม  บริเวณส่วนล่างของกลีบนี้เป็นบริเวณที่ทำหน้าที่ที่ผสมผสานการรับรู้ต่างๆ




นางสาวอุบลวรรณ  พวงแก้ว


การค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการหายใจที่ผิดปกติ


การค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการหายใจที่ผิดปกติ
จากการค้นคว้างานวิจัยบทความวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1.             งานวิจัยจำนวน 1 เรื่อง
2.             บทความวิจัยจำนวน 4 เรื่อง
ประเด็นเรื่อง การหายใจที่ผิดปกติ งานวิจัยจำนวน 5 เรื่อง ที่ได้กล่าวถึงการหายใจมีดังนี้
1.             เรื่อง ภาวการณ์อุดกั้นทางเดินหายใจ ส่วนบนตอนนอนในเด็ก (Obstructive Sleep Apnea)
: ข้อมูล หน่วยระบบหายใจและไอซียู สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีhttp://www.thaipedlung.org/breathe    วันที่ 29/09/2554 เวลา 03.55.
สามารถสรุปได้ดังนี้พบได้ในเด็กทุกอายุ แต่พบมากในเด็กช่วงอายุ 2-6 ปี ถ้าไม่รักษาจะทำให้เด็กมีภาวะพร่องออกซิเจนขณะหลับ หยุดหายใจเป็นช่วงๆ ซึ่งอาจทำให้สติปัญญาถดถอย, สมาธิสั้น, หัวใจโตหรือเสียชีวิตอย่างกระทันหันได้http://www.thaipedlung.org/images/spacer.gifสาเหตุมักเกิดจาก ต่อมทอนซิลที่อยู่ข้างโคนลิ้นและต่อมอดีนอยด์ที่อยู่หลังจมูกมีขนาดโตเบียด บังทางเดินหายใจส่วนบน  อาการเด็ก มักจะนอนกรนร่วมกับมีอาการหายใจลำบากขณะนอนหลับ  การวินิจฉัย วิธี การทดสอบที่ดีที่สุด สำหรับการวินิจฉัยภาวะนี้เรียกว่า Polysomno- graphy (Sleep Lab.) เป็นการตรวจด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ในขณะที่เด็กหลับตลอดคืน ทำโดยให้เด็กมานอนในห้องพิเศษที่ โรงพยาบาล 1 คืน มีพยาบาลพิเศษ คอยสังเกตการหายใจของเด็ก เครื่องคอมพิวเตอร์จะวัดค่าต่างๆ ผ่านสายที่แปะด้วย สติกเกอร์ที่ตำแหน่งต่างๆ บน ตัวเด็กและบันทึกข้อมูลไว้ตลอด 8 ชั่วโมง   
ในเด็ก ส่วนใหญ่มักจะดีขึ้น หลังการผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลและ อดีนอยด์ออก ในรายที่สาเหตุเกิดจากความอ้วน ถ้าลดน้ำหนักลง อาการมักจะดีขึ้น บางรายอาจจำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยหายใจชนิด CPAP ไปตลอด ถ้ารักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล

2.       เรื่อง Sleep Apnea ง่วงนอน กรน นอนไม่อิ่ม
 : ข้อมูลโดย กิตติมา วัฒนากมลกุล   ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลhttp://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=49//  วันที่ 29/9/2554 เวลา 03.30 .
สมารถสรุปได้ดังนี้: ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (sleep apnea) เป็นภาวะที่มีการหยุดหายใจเป็น   ระยะๆหรือมีการหายใจตื้นๆสลับกับการหายใจที่ เป็นปกติในระหว่างที่นอนหลับ ซึ่งช่วงการหยุดหายใจอาจเป็นเพียงไม่กี่วินาทีหรืออาจยาวเป็นนาที โดยมักเกิด 5-30 ครั้งหรือมากกว่าในเวลา 1 ชั่วโมง ส่งผลให้นอนหลับได้ไม่เต็มที่ และมีอาการง่วงมากผิดปกติในช่วงระหว่างวันตามมารวมทั้งสมาธิและความจำก็จะลดลง  โดยส่วนใหญ่แล้วภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่พบนั้นจะเป็นประเภทที่มีการอุดกั้น ของทางเดินหายใจ (obstructive sleep apnea) มีสาเหตุมาจากการคลายตัวของกล้ามเนื้อที่ทางเดินหายใจ การหนาตัวของเนื้อเยื่อผนังคอในผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาก การโตของต่อมทอนซิลในเด็ก หรือภาวะเนื้องอกบริเวณทางเดินหายใจ เป็นต้น ซึ่งการที่อากาศต้องเดินทางผ่านทางเดินหายใจที่แคบลงสามารถก่อให้เกิด เสียงกรนขึ้นได้    อีกประเภทหนึ่งที่พบได้น้อยกว่านั่นคือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเนื่องความผิดปกติของการสั่งงานของสมอง (central sleep apnea) ภาวะนี้สมองส่งสัญญาณควบคุมที่ผิดปกติไปยังกล้ามเนื้อในระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการหยุดหายใจชั่วครู่

3.             เรื่อง การหายใจกับการทำงาน
              : ข้อมูล กัลยาคลินิกกายภาพบำบัด
               http://www.kanyapt.com/01/index.php/   วันที่ 29/09/2554   เวลา 03.51 .
สามารถสรุปได้ดงนี้: "การหายใจ"  ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนสามารถทำได้ การหายใจของคนเราแบ่งออกตามลักษณะการทำงาน ของกล้ามเนื้อได้ 3 ลักษณะ ได้แก่ การใช้กล้ามเนื้อกะบังลม การหายใจลักษณะ นี้จะเกิดขึ้นเมื่อเราหายใจแบบสบายๆ การใช้กล้ามเนื้อชายโครง การ หายใจในลักษณะนี้จะเกิดขึ้นร่วมกับการ หายใจแบบแรก    การใช้กล้ามเนื้ออกและกล้ามเนื้อซี่โครงส่วนบน การหายใจแบบนี้จะ หายใจสั้นและเร็ว เวลาหายใจหน้าอกจะยกขึ้น มักพบการหายใจลักษณะนี้เมื่อหอบหรือเหนื่อย เช่น ขณะที่ออกกำลังกาย
หายใจควรกลับมาสู่ภาวะปกติ  การหายใจที่ผิดปกติอาจเป็นผลมาจากความเครียด ความวิตกกังวล หรือภาวะทางอารมณ์อื่นๆ  หากมี ภาวะอาการเกร็งของกล้ามเนื้อที่ใดที่หนึ่งอยู่ ให้เรียนรู้ที่จะปล่อย และผ่อนคลายกล้ามเนื้อนั้นลง และหากมีความเครียดอยู่ ให้หาทางขจัดความเครียดออก
4.             เรื่อง กลุ่มอาการหายใจเร็วกว่าปกติ
: ข้อมูล http://th.wikipedia.org/wiki/ วันที่ 29/9/2554  เวลา 04.4 .
สามารถสรุปได้ดังนี้: กลุ่มอาการหายใจเร็วกว่าปกติ (อังกฤษ: Hyperventilation syndrome) คือความผิดปกติในระบบทางเดินหายใจ ที่มีพื้นฐานมาจากความผิดปกติทางกายภาพหรือทางจิตวิทยา มีความเกี่ยวข้องกับการหายใจลึกและถี่เกินไป (หายใจเร็วกว่าปกติ) กลุ่มอาการหายใจเร็วกว่าปกติอาจแสดงในลักษณะอาการปวดหน้าอก รู้สึกชาที่ปลายนิ้วหรือริมฝีปาก และอาจเกิดอาการร่วมกับอาการกลัว (Panic attack)     ผู้ที่มีการป่วยมักจะรู้สึกเหมือนตัวเองได้รับอากาศไม่เพียงพอ แต่ในความเป็นจริงแล้ว พวกเขามีปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือดแดง และมีคาร์บอนไดออกไซด์น้อยเกินไปในเลือดและเนื้อเยื่อ

5.             เรื่องการรักษาอาการนอนกรน
: ข้อมูล www.krunok.net/index2.php/ วันที่ 28/09/2554 เวลา 02.30.
สามารถสรุปได้ดังนี้: ผู้ป่วยที่มีอาการนอนกรน และ/หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อาจเกิดจากหลายสาเหตุ และมีจุดอุดกั้นทางเดินหายใจหลายตำแหน่ง. ดังนั้นการทำผ่าตัดแก้ไขจุดใดจุดหนึ่งเพียงจุดเดียว อาจไม่ช่วยแก้ไขอาการให้ดีขึ้นมากนัก อาจต้องมาผ่าตัดซ้ำเพื่อแก้ไขทางเดินหายใจที่แคบส่วนอื่นๆ หรือใช้เครื่อง CPAP หรือ intraoral appliances ร่วมด้วยทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของการผ่าตัด, จุดอุดกั้นทางเดินหายใจ    และ ความรุนแรงของโรค. หลังผ่าตัดควรติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง. การรักษาที่เหมาะสมนั้น   นอกจากขึ้นกับสาเหตุและตำแหน่งที่ตรวจพบแล้ว ยังต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ในผู้ป่วยแต่ละรายด้วย เช่น
 สุขภาพโดยทั่วไปของผู้ป่วย. ภาวะแทรกซ้อนของภาวะหยุดหายใจ ขณะหลับที่มีผลต่อระบบต่างๆของร่างกาย โรคประจำตัว สภาพเศรษฐฐานะและสังคมของผู้ป่วย เป็นต้น. ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยมีหรือสงสัยว่ามีอาการนอนกรน และ หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับควรรีบทำการวินิจฉัยตรวจหาสาเหตุของโรค ประเมินความรุนแรงและ พิจารณาแนวทางรักษาที่เหมาะสมแต่เนิ่นๆ. การให้การรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที จะช่วยให้อัตราเสี่ยงต่อโรคต่างๆและอัตราตายลดลง และทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น.


นางสาวศุภรัตน์  นากร

วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

การเกิดแฝด

 
บทนำ     
                ในยุคปัจจุบันหรือยุคโลกาภิวัฒน์ นี้  เป็นยุคที่ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงไปพัฒนาไปอย่างรวดเร็วในทุกๆด้าน  ทำให้ผู้คนต่างที่จะดิ้นรนค้นคว้าเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการจึงทำให้เกิดการพัฒนาทุกสิ่งทุกอย่างตามความต้องการมากขึ้น  และแม้แต่เชื้อโรคเองทุกวันนี้ยังมีการพัฒนาตัวเองอย่างไม่หยุดหย่อนจึงทำให้มีเชื้อใหม่ๆเกิดขึ้นมากมายและมีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ  มนุษย์เราก็เช่นเดียวกันมีการพัฒนาไปในทุกด้านเริ่มมาจากพันธุกรรมและการเลี้ยงดูของครอบครัว  ที่มีผลต่อพัฒนาการของมนุษย์ทำให้แต่ละบุคคลมีพัฒนาการที่แตกต่างกันตั้งแต่เป็นทารกที่อยู่ในครรภ์มารดา  และมีการเจริญเติบโตขึ้นทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญาสังคมและวัฒนธรรมซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมและบุคคลภายในครอบครัว                                           
               
( ผศ.ทิพย์ภา  เชษฐ์เชาวลิต,2546)   ได้กล่าวไว้ว่า  พัฒนาการวัยก่อนคลอด  คือช่วงเวลาตั้งแต่ถือกำเนิดในครรภ์มารดาหรือตั้งแต่เริ่มมีการปฏิสนธิ   ระหว่างไข่ของเพศหญิง (ovum) และสเปอร์มของเพศชาย (spermatozoa) ของเพศชาย    จนกระทั่งคลอด และในช่วงนี้โครงสร้างต่างๆของร่างกายและอวัยวะจะเริ่มก่อตัวขึ้น  และได้มีการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายอย่างรวดเร็วมากและก็จะได้รับผลกระทบต่างๆจากสิ่งแวดล้อมได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน เช่น เมื่อแม่รู้สึกเครียด ลูกก็จะเครียดตามไปด้วย
                      การพัฒนาการทางด้านต่างๆของทารกในครรภ์นี้ ก็จะเริ่มตั้งแต่การที่มีขาเล็กๆทั้งสองข้างจนกระทั่งมีการสร้างอวัยวะต่างๆที่สำคัญของทารกในครรภ์ เช่น ระบบประสาทหัวใจ แขน ขา  และอวัยวะเพศ ดังนั้น  มารดาที่ตั้งครรภ์ควรจะรีบไปพบแพทย์ เนื่องจากบางทีมารดาอาจจะเป็นโรคบางอย่างหรือมีภาวะเสี่ยงบางชนิดทีอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อทารกครรภ์ได้
1


ความหมายของพัฒนาการ

                   มีผู้ให้ความหมายของพัฒนาการไว้หลายท่าน  ดังต่อไปนี้
              พัฒนาการ  หมายถึง ลำดับการเจริญก้าวหน้าของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเกิดขึ้นเป็นผลของวุฒิภาวะและประสบการณ์
  (จรูญ, 2530)
               พัฒนาการ    หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมด้านต่างๆ ของคน ตลอดชีพทั้งในรูปแบบที่เจริญขึ้นและถดถอยลง (ศรีเรือน, 2530)
               พัฒนาการ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่มีแบบแผน รูปแบบ และเป็นขั้นตอน  (Kaluger&Kaluger,1979)
               พัฒนาการ หมายถึง วิธีการที่สลับซับซ้อนของการรวมเอาโครงสร้าง และการทำงานหลายๆอย่างเข้าด้วยกัน  (Hurlock,1982)1
                พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆ ของร่างกายซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงตาย  (Sigelman,1999)2

การปฏิสนธิ
               การปฏิสนธิจะเกิดขึ้นเมื่อไข่ได้รับการผสมกับอสุจิแล้วเท่านั้น การหลั่งอสุจิตามปกติจะมีสเปอร์มหลายล้านตัวแต่ส่วนใหญ่จะตายขณะที่ผ่านช่องคลอดไปยังมดลูก และไข่จะตกจากรังไข่ทุกเดือน
14วันก่อนมีประจำเดือน และอสุจิหนึ่งตัวสามารถเจาะไข่ได้เพียงหนึ่งฟองเท่านั้นและอสุจิที่เหลืออีกหลายล้านตัวก็จะตายไปการปฏิสนธิเกิดที่ท่อนำไข่เรียกว่าไซโก (Zygote) ไข่ที่ผสมแล้วจะเริ่มมีการแบ่งตัวเป็น 2 จาก 2 เซลล์มาเป็น 4 เซลล์และจาก 4 เซลล์มาเป็น 8 เซลล์เพิ่มเป็นเท่าตัวและหลังจากที่อสุจิผสมกับไข่ได้3-4วันตัวอ่อนจะเคลื่อนย้ายไปที่โพรงมดลูกและจะทำการฝังตัวในโพรงมดลูก กระบวนการนี้เราเรียกว่าการปฏิสนธิเพราะถือเป็นการเริ่มต้นของชีวิตใหม่หรือเกิดการตั้งครรภ์ขึ้นนั่นเอง1,3

 การเกิดฝาแฝด

           การเกิดฝาแฝดจะเกิดขึ้นได้
2กรณีตามลักษณะการเกิดคือ(ศรีเรือน,2543)
                   แฝดเหมือน  คือเกิดจากการผสมระหว่างไข่ใบเดียวกันกับอสุจิตัวเดียวกัน และมีการแยกออกเป็นเซลล์ผสม
2เซลล์ที่มียีนเหมือนกันทุกอย่าง ทำให้เด็กแฝดทั้งสองคนนี้เหมือนกันมาก และยังเป็นเพศเดียวกัน รูปร่างหน้าตาเหมือนกัน  และหากเลี้ยงในสิ่งแวดล้อมเหมือนกันบุคลิกและอุปนิสัยก็จะเหมือนกัน และบางครั้งการเกิดแฝดชนิดนี้เซลล์ไม่ได้แยกอออกจากกันออกจากกันโดยเด็ดขาด  จะเกิดแฝดที่มีลักษณะทางร่างกายซึ่งมีบางส่วนติดกันอยู่เราเรียกแฝดชนิดนี้ว่าแฝดสยาม
             
  แฝดไม่เหมือน  เกิดจากการผสมกันของไข่ 2ใบกับอสุจิ 2 ตัว ซึ่งมียีนต่างกัน เพราะฉะนั้นแฝดชนิดนี้อาจจะเป็นเพศเดียวกัน หรือคนละเพศก็ได้   แต่มีบางส่วนที่เหมือนกันได้เหมือนพี่น้องคนอื่นๆ1
พัฒนาการวัยก่อนคลอด

               พัฒนาการวัยก่อนคลอดเกิดขึ้นหลังจากที่มีการปฏิสนธิแล้ว  เพราะพัฒนาการของชีวิตใหม่จะเริ่มการพัฒนาในช่วงนี้เป็นการพัฒนาทางด้านร่างกายเกือบทั้งสิ้น และได้มีการแบ่งพัฒนาการวัยก่อนคลอดออกเป็น
3 ระยะคือ
   
1.  ระยะไซโกต  (period of the zygote or ovum)
2.  ระยะตัวอ่อน  (period of the embryo)
3. ระยะทารกในครรภ์  (period of the fetus)

ระยะไซโกต   (period of the zygote or ovum)    นับตังแต่การมีปฏิสนธิจนถึงสัปดาห์ที่ 2
                   หลังจากที่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น จะได้ไซโกตซึ่งเป็นเซลล์ผสม มีลักษณะเป็นก้อนกลม ไซโกตจะค่อย ๆ เคลื่อนที่ไปตามท่อนำไข่ไปฝังตัวที่ผนังมดลูก การเคลื่อนที่ดังกล่าวใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ระหว่างการเคลื่อนที่ ไซโกตจะมีการแบ่งตัวแบบไมโตซิส (mitosis) ตลอดเวลาในช่วง 2-3 วันแรก คือจะแบ่งตัวจาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 จาก 4 เป็น 8 ไปเรื่อย ๆ  4-5 วันต่อมาจะมีการแบ่งตัวแบบไมโอซิส (meiosis) ทำให้มีเซลล์ต่างชนิดเกิดขึ้นจนกระทั่งมาถึงมดลูก ในขณะที่ไซโกตกำลังเคลื่อนที่มา มดลูกก็มีการเตรียมพร้อมที่จะรับไซโกตไว้เช่นกันโดยมีการเพิ่มจำนวนเม็ดเลือด ปรับผนังของมดลูกให้หนานุ่มขึ้นเพื่อเป็นแหล่งอาหารและปรับให้เหมาะกับการฝังตัวของไซโกต นอกจากนั้นยังมีการหลั่งฮอร์โมนเอสโทรเจนและโปรเจสเตอโรนที่ผลิตจากรังไข่ไปบังคับให้มดลูกซึ่งปกติมีการหดตัวเป็นจังหวะให้หยุดหดตัว เพื่อช่วยให้ไซโกตสามารถฝังตัวเกาะติดกับผนังมดลูกและเจริญเติบโตได้ดีขึ้น เมื่อไซโกตเคลื่อนที่มาถึงมดลูก น้ำในโพรงมดลูกจะซึมผ่านผนังของ     ไซโกตเข้ามา ทำให้ไซโกตมีการแยกตัวออกเป็นสองส่วน คือเนื้อเยื่อชั้นนอกและเนื้อเยื่อชั้นใน เมื่อไซโกตเคลื่อนที่มาถึง ผนังมดลูกก็จะสลายผนังของตัวเอง แล้วไซโกตก็จะฝังตัวที่ผนังมดลูก (implantation) เรียกเซลล์ผสมในระยะนี้ว่าบลาสโตซีส (blastocyst) ปกติการฝังตัวจะเกิดขึ้นภายใน 10 วันนับตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ การเตรียมพร้อมของมดลูกจะเป็นอยู่ทุกเดือน หากภายใน 13 วันหลังไข่สุกไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ผนังมดลูกจะลอกตัวและถูกขับออกจากร่างกายเป็นประจำเดือน1,2,3

ระยะตัวอ่อนอ่อน  (period of the embryo)  นับตั้งแต่สัปดาห์ที่2จนถึงสัปดาห์ที่8
                   หลังจากไซโกตฝังตัวที่ผนังมดลูกแล้ว ก็จะเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนต่อไป โดยมีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซีสตลอดเวลา ทำให้เซลล์ในบลาสโตซีสเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก กลุ่มของเซลล์ที่สร้างขึ้นจะกระจายเป็นแผ่น (embryonic plate) ประมาณ 95% ของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเริ่มมีการแบ่งแยกในระยะนี้ การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นโดยเนื้อเยื่อชั้นนอกจะพัฒนาเป็นเยื่อหุ้มรกด้านแม่ (chorion) เยื่อหุ้มรกด้านลูก (amnion) รก (placenta) และสายสะดือ (umbilical cord) ส่วนเนื้อเยื่อชั้นในจะหุ้มรกด้านลูกจะมีน้ำใส ๆ เรียกว่าน้ำคร่ำ (amniotic fluid)  การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเป็นไปเรื่อย ๆ จนถึงระยะเวลาคลอดซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

สัปดาห์ที่ 2  เซลล์ของตัวอ่อน จะแบ่งตัวออกเป็น 2 ชั้นคือชั้น ectoderm และชั้น endoderm ตัวอ่อนระยะนี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 มม.
           สัปดาห์ที่ 3-4  เซลล์ของตัวอ่อนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเป็นเนื้อเยื่อ (tissue) ตัวอ่อนเริ่มเป็นรูปร่างยาวประมาณ 1/5 นิ้ว และมีขนาดเป็น 40,000 เท่าของขนาดไข่ที่มีการปฏิสนธิ อวัยวะแรกที่สร้างคือระบบประสาทส่วนกลาง ต่อมาจะมีการสร้างสมอง หัวใจ ศีรษะ ใบหน้า หู จมูก ตา แขน ขา จำนวนปล้องของลำตัวจะพัฒนาเป็นตับ หัวใจซึ่งมีร่องแบ่งกั้นชัดเจน นอกจากนี้ยังมีส่วนของกระบังลม และช่องท้อง
            สัปดาห์ที่ 5-8  ตัวอ่อนจะยาวประมาณ 1-2 นิ้ว น้ำหนัก 2.25 กรัม เริ่มมีลักษณะใกล้เคียงกับมนุษย์มากขึ้น อวัยวะต่าง ๆ เริ่มพัฒนาขึ้น รูปร่างภายนอกเริ่มปรากฏชัดขึ้น ช่วงปลายสัปดาห์ที่ 8  ระบบทางเพศมีการพัฒนามากขึ้นแต่ยังไม่สามารถแยกเพศทารกได้ชัดเจน1,2,3

ระยะทารกในครรภ์(period of the fetus) นับตั้งแต่สัปดาห์ที่8 จนกระทั่งคลอด
 ระยะนี้เป็นระยะที่เปลี่ยนจากตัวอ่อน (embryo) มาเป็นทารก (fetus) มารดาจะรู้สึกว่ามีทารกอยู่ในครรภ์ โดยจะเริ่มรู้สึกว่าทารกมีการเคลื่อนไหวในสัปดาห์ที่ 16 เป็นระยะที่ใช้เวลานานที่สุด สัดส่วนโครงสร้างของร่างกาย อวัยวะและระบบต่าง ๆ ของร่างกายสมบูรณ์ยิ่งขึ้น การเจริญเติบโตจะเป็นไปอย่างรวดเร็วประมาณ 20 เท่าของตอนเป็นตัวอ่อน  เริ่มมีการสร้างขน ผม เล็บ และอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก กระดูกจะแข็งแรงขึ้น ช่วงนี้มารดาต้องบำรุงร่างกายด้วยการรับประทานแคลเซียมให้มากกว่าเดิม เพราะทารกจะเอาแคลเซียมจากมารดามาสร้างกระดูกของตนเอง การเคลื่อนไหวของลำไส้จะพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งสัปดาห์ที่ 38 จะมีความสมบูรณ์เต็มที่พร้อมจะออกจากครรภ์มารดา โดยสรุปพัฒนาการของระยะนี้คือ


              เดือนที่  3  ทารกจะมีน้ำหนักตัว ประมาณ 14 กรัม ยาวประมาณ 3 นิ้ว อวัยวะทุกส่วนของร่างกายพัฒนาขึ้น  เริ่มเห็นเพศชัดเจนว่าเพศชายหรือหญิง  สามารถเคลื่อนไหว ขา เท้า หัวแม่มือ ศีรษะ อ้าและหุบปากได้
               เดือนที่  4  ความยาวของทารก ประมาณ 15เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 114 กรัม ระยะนี้สายสะดือจะยาวขึ้น รกพัฒนาเต็มที่ ทารกสามารถดิ้นได้ มองเห็นอวัยวะเพศชัดขึ้น เริ่มดูดนิ้วและกำมือได้ สามารถดูดกลืนได้ กระดูกพัฒนามากขึ้น
                เดือนที่  5 ทารกจะมีน้ำหนักตัว ประมาณ 200-300 กรัม ความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร เริ่มมีผมและเล็บเกิดขึ้น ผิวหนังมีไขมันปกคลุม สามารถฟังเสียงเต้นของหัวใจได้ชัดเจน
                เดือนที่  6  ทารกจะมีน้ำหนักตัว ประมาณ 500-600 กรัม ยาวประมาณ 28-30 เซนติเมตร  ตาจะมีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ สามารถเปิดปิดตา และร้องไห้ได้  หายใจได้ตลอดเวลา ใต้ผิวหนังจะมีชั้นไขมันเกิดขึ้น มีต่อมเหงื่อ ต่อมรับรส หากคลอดช่วงนี้ทารกจะสามารถหายใจได้ หากได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทารกอาจมีชีวิตรอด 1 ใน 10 คน
                เดือนที่ 7 ทารกจะมีน้ำหนักตัวประมาณ 1,000-1,200 ความยาวประมาณ 35-38  เซนติเมตร  พัฒนาการด้านปฏิกิริยาตอบสนองเป็นไปได้อย่างเต็มที่ ทารกสามารถร้องไห้ หายใจ ดูดกลืนได้ ระบบประสาท ระบบไหลเวียน ระบบหายใจสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อวัยวะทุกส่วนพัฒนาเต็มที่ ทารกที่คลอดในระยะนี้หากได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญอาจมีชีวิตอยู่รอดได้โดยการเลี้ยงในตู้จนกว่าทารกจะแข็งแรงพอที่จะออกมาอยู่ภายนอกได้
            เดือนที่ 8 ทารกจะมีน้ำหนักตัวประมาณ 1,600 กรัม ความยาวประมาณ 38-43 เซนติเมตร สามารถสังเกตการเคลื่อนไหวทารกได้จากภายนอก มีการสร้างไขมันปกคลุมร่างกายเพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิภายนอกได้ ทารกจะตอบสนองต่อเสียงและสิ่งแวดล้อมได้
            เดือนที่ 9-10 ทารกจะมีน้ำหนักตัวประมาณ 3000 กรัม ความยาวประมาณ 48-52 เซนติเมตร เพศชายมักมีน้ำหนักและความยาวมากกว่าเพศหญิง เป็นระยะครบกำหนดคลอด ทารกจะพัฒนาสมบูรณ์เต็มที่1,2,3


ภาวะวิกฤติของทารกในครรภ์
                    ระยะนี้ถือเป็นระยะสำคัญที่สุดของทารกในครรภ์ ทารกจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและชัดเจน เป็นระยะที่อันตรายที่สุด และมักจะเป็นระยะต้นของการเจริญเติบโตเนื่องจากอยู่ในระหว่างการสร้างอวัยวะและระบบการทำงานในร่างกายจะพัฒนาขึ้น เช่น ระบบประสาท ระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร และอวัยวะต่าง ๆ และสุขภาพของมารดาขณะตั้งครรภ์ก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุดสำหรับในระยะนี้ ทั้งในเรื่องของการฝากครรภ์ การดูแลตนเองในขณะตั้งครรภ์ สภาพจิตใจ อารมณ์ของมารดา โรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น สารพิษ ยา หรืออาหารที่มารดารับประทานจะส่งผลต่อพัฒนาการของทารกเพราะอาจทำให้ทารกที่จะเกิดมาพิการได้ ระยะนี้จึงถือเป็นระยะวิกฤต หากทารกไม่สามารถปรับตัวให้มีชีวิตอยู่ในครรภ์ได้ ก็อาจจะเป็นสาเหตุให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตได้1

การตั้งครรภ์นอกมดลูก
              การตั้งครรภ์นอกมดลูก หมายถึง การตั้งครรภ์ที่เกิดจากการที่ไข่ถูกผสมแล้วฝังตัวนอกโพรงมดลูกโดยร้อยละ95เกิดที่หลอดมดลูกและนอกจากนั้นยังสามารถพบการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ที่รังไข่ ปากมดลูก และในช่องท้อง รวมไปถึงตับ และม้ามได้

  สาเหตุ
1.             การเพิ่มขึ้นของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
2.             การแท้งติดเชื้อ
3.             การผ่าตัดแก้ไขภาวะหลอดมดลูกตีบหรือการผ่าตัดเชื่อมหลอดมดลูกใหม่
4.             การนำเทคนิคการรักษาผู้มีบุตรยากมาใช้

การรักษา
1.             การตัดหลอดมดลูก คือการตัดหลอดมดลูกของรังไข่ร่วม
2.             การผ่าตัดยังเก็บรักษาหลอดมดลูกไว้
3.             ใช้ยาหรือเคมีบำบัด4

การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก

            เป็นการตั้งครรภ์ผิดปกติชนิดหนึ่ง และยังกลายเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง

สาเหตุ
           สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดแต่น่าจะมาจาก
      1. อายุ โดยคนที่มีอายุ มากกว่า  45 ปี ขึ้นไปมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนที่มีอายุ 20-40 ปีถึง10 เท่า
       2. ภาวะโภชนาการ จะพบว่ากลุ่มคนที่ขาดอาหารประเภทไขมันจากสัตว์และแคโรทีนอาจเป็นต้นเหตุขิงการเกิดโรคชนิดนี้ได้

การรักษา
1.             การใช้สารเคมีบำบัดเพื่อป้องกันการกลายเป็นมะเร็ง
2.             การดูดเอาเนื้อรกออกพร้อมกับการขูดมดลูก
3.             การผ่าตัดเอามดลูกออก
4.             ทำให้สิ้นสุดการตั้งครรภ์5

การตั้งครรภ์แฝด
              การตั้งครรภ์แฝด หมายถึง การตั้งครรภ์ที่มีทารก 2 คนขึ้นไปพร้อมกันอาจเกิดจากไข่ใบเดียวกันหรือคนละใบก็ได้

สาเหตุ
1.            พันธุกรรม
2.            มีประวัติได้รับการรักษาภาวการณ์มีบุตรยาก โดยได้รับยากระตุ้นเร่งการตกไข่
3.            เชื้อชาติ พบในคนผิวดำมากกว่าผิวขาว
4.            อายุและจำนวนครั้งของการตั้งครรภ์

ผลต่อทารกในครรภ์
1.             ทารกพิการแต่กำเนิด
2.             อัตราการตายของทารกเพิ่มขึ้นโดยอาจจะมีการตายของทารกแฝดอีกคนหนึ่ง
3.             ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ
4.             ถุงน้ำคร่ำแตกตัวก่อนกำหนด และเกิดสายสะดือย้อย

การรักษา
       เนื่องจากสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้มากมายในครรภ์แฝด การดูแลรักษาก็ต้องแตกต่างออกไปจากการตั้งครรภ์ปกรติ สตรีตั้งครรภ์แฝดต้องได้รับการดูแลระหว่างตั้งครรภ์บ่อยกว่าปกติโดย  และจะต้องตรวจการเจริญเติบโตของทารกอย่างใกล้ชิดและเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด5

การแท้ง
        การแท้ง หมายถึง การสิ้นสุดการตั้งครรภ์ก่อน 28 สัปดาห์หรือก่อนที่ทารกจะเจริญเติบโตออกมามีชีวิต

สาเหตุของการแท้ง
       สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้
1.             สาเหตุจากทารก
สามารถแบ่งการเจริญผิดปกติของตัวอ่อนออกเป็น 2 กลุ่มคือ
1.1 กลุ่มที่มีจำนวนผิดปกติ ของโครโมโซม  พบได้ร้อยละ  50-60 ส่วนใหญ่แท้งก่อนอายุครรภ์ 12สัปดาห์ โดยพบโครโมโซมบางคู่เกินมา1ตัว เรียกว่า ไตรโซมี่ (trisomy) เป็นต้น    (Scott, 1999; โกวิท  คำพิทักษ์, 2542)
  1. 2 กลุ่มที่มีจำนวนโครโมโซมปกติ ส่วนใหญ่จะเกิดการแท้งหลังอายุครรภ์เกิน 12สัปดาห์ไปแล้ว และพบได้บ่อยในสตรีที่มีอายุมากกว่า 35ปี ขึ้นไป  (โกวิท  คำพิทักษ์, 2542)
      2. สาเหตุจากมารดา
             ส่วนใหญ่มักเป็นการแท้งแบบจำนวนโครโมโซมปกติและมักจะเกิดในไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ และมีสาเหตุดังต่อไปนี้
1.             อายุ สตรีที่มีอายุน้อยกว่า20 ปี และมีอายุมากกว่า 40ปี มีโอกาสจะแท้งมากกว่าสตรีวัยเจริญพันธุ์และถ้ามีอายุมากกว่า45 ปีมีโอกาสเกิดการแท้งสูงมากกว่าร้อยละ 50 (Scott,1999)
2.             การติดเชื้อ การติดเชื้อไวรัสบางชนิดอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดการแท้งได้ เช่น เริมที่อวัยวะสืบพันธุ์ หรือการติดเชื้อซิฟิลิส
3.             ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ
4.             ความผดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์
5.             ภาวะทุพโภชนาการอย่างรุนแรง
6.             แรงกระทบกระเทือนสะภาวะทางด้านอารมณ์
7.             การได้รับสารพิษหรือสารเสพติดบางชนิด

การรักษา
1.             หาสาเหตุและให้การรักษาในระยะที่ยังไม่ตั้งครรภ์
2.             ตรวจหาระดับฮอร์โมน
3.             ทำการผ่าตัดแก้ไขภาวะความผิดปกติของมดลูก
4.             รกลอกตัวก่อนกำหนด หมายถึง การลอกตัวของรกในช่วงเวลาก่อนการคลอดตามปกติของทารก5

รกลอกตัวก่อนกำหนด
          รกคลอดตัวก่อนกำหนดเป็นการลอกตัวของรกในช่วงเวลาก่อนการคลอดของารกและภาวะนี้จะมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ
1.             มีการลอกตัวของรก
2.             รกเกิดการลอกตัวในช่วงก่อนที่ทากรจะคลอด
3.             รกจะต้องเกาะในตำแหน่งปกติ

สาเหตุ
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าเกี่ยวข้องกับภาวะดังต่อไปนี้
1.              ความดันโลหิตสูง  เป็นภาวะร่วมที่พบได้บ่อยที่สุดซึ่งรวมทั้งความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ และความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
2.             การสูบบุหรี่  ในภาวะนี้พบได้เป็น 2 เท่าในคนสูบบุหรี่ เพราะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดถึงร้อยละ 40 ต่อการสูบบุหรี่ที่นานขึ้นในแต่ละปี
3.             โคเคน สตรีตังครรภ์ที่ใช้โคเคนมีโอกาสเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดสูงกว่าสตรีทั่วไปมาก
4.             เนื้องอกมดลูก โดยเฉพาะเนื้องอกมดลูกบริเวณที่รกเกาะจะทำให้เกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดได้มากกว่า กรณีที่เป็นก้อนเนื้องอกไม่ได้อยู่ในบริเวณที่รกเกาะ

การรักษา

1.             การรักษาแบบ Expectant ในกรณีทารกก่อนกำหดสำหรับในทารกในรายที่มีเลือดออกไม่มากคือไม่ทำให้ซีดหรือไม่มีภาวะ hypovolemic และให้พิจารณาจากสภาพของทารกในครรภ์เป็นหลัก
2.             การทำให้คลอด ในรายที่รกลอกตัวก่อนกำหนดและมีเลือดออกมากควรให้การรักษาอย่างรีบด่วน โดยการให้เลือดทดแทนร่วมกับน้ำเกลือและพยายามทำให้คลอดอย่างรวดเร็วเพื่อรักษาชีวิตทั้งของมารดาและทารก4

การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับตัว
             การส่งเสริมสุขภาพจิตของมารดาขณะตั้งครรภ์นั้นเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากจะมีผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ ดังนั้น จึงได้มีการการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับตัวของมารดา โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

                1. แนะนำเรื่องการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เพราะความเจ็บป่วยทางร่างกายของมารดาอาจจะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ เช่น หากมารดาป่วยเป็นโรค หัดเยอรมัน อาจส่งผลให้ทารกแท้งหรือพิการได้ และหากเป็นโรค ซิฟิลิส อาจทำให้เกิดอาการแท้ง หรือคลอดก่อนกำหนด ดังนั้นมารดาควรไปปรึกษาแพทย์และไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
2. ให้ความรู้ด้านโภชนาการของมารดา ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาทางร่างกายของทารก หากมารดาได้รับอาหารที่มีคุณค่าในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้ทารกในครรภ์สามารถนำสารอาหารไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตของร่างกายได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่อาจก่อให้เกิดอันตรายและสารเสพติดต่างๆ เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้
                4.  กระตุ้น ให้หญิงตั้งครรภ์ ระบายความรู้สึก  ความไม่สบายใจ ออกมาเพื่อที่จะลดความวิตกกังวลหลายๆอย่างที่จะทำให้หญิงตั้งครรภ์เกิดความรู้สึกไม่สบายใจ เช่น กลัวอ้วน กลัวไม่สวย กลัวการคลอดบุตร กลัวบุตรที่จะเกิดมาไม่สมบูรณ์
               5.  แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนใกล้ตัวหรือคนที่เคยตั้งครรภ์มาก่อนเพื่อไม่ให้รู้สึกเหงา และคลายความวิตกกังวลไปได้
               6.  ให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งบริการที่เป็นประโยชน์และสามารถให้ความช่วยเหลือแก่ตนเองได้ เช่น โรงพยาบาลใกล้เคียง สถานีอนามัย นักสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น
               7.   แนะนำบทบาทที่สำคัญของความเป็นแม่ และการเตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อยที่จะเกิดมา
               8.  แนะนำให้มารดาพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อลดความตึงเครียด ผ่อนคลายอารมณ์ เช่นการดูหนังฟังเพลง เป็นต้น
               9.  แนะนำให้บุคคลในครอบครัวดูแลเอาใจใส่หญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะสามีควรดูแลเอาใจใส่ภรรยาเป็นพิเศษ เพราะการสนับสนุนจากสามีด้านต่างๆเหล่านี้จะทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความวิตกกังวลลดลง และสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ และนอกจากนี้ยังพบว่าการสนับสนุนจากสามี มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อทารกในครรภ์ในระดับสูง1

สรุป
                วัยก่อนคลอด เป็นวัยที่เริ่มจากเซลล์ผสม (zygote) ระหว่างเซลล์สืบพันธุ์ของเพศชาย (spermatozoa) กับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิง (ovum) จนกระทั่งเจริญเติบโตเป็นทารกที่มีอวัยวะทุกส่วนสมบูรณ์เต็มที่ พร้อมที่จะออกมาสู่โลกภายนอกได้ วัยก่อนคลอดถือเป็นวัยสำคัญมาก เป็นพื้นฐานของการพัฒนาอวัยวะระบบต่าง ๆ ของร่างกาย  การให้การดูแลทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์อย่างเหมาะสมด้วยการให้คำแนะนำ แก่มารดาอย่างเหมาะสมในการปฏิบัติตัวด้านต่าง ๆ เช่น การดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์  การทำจิตใจให้แจ่มใส การใช้ยาขณะตั้งครรภ์ เป็นต้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้พัฒนาการของทารกในครรภ์เป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น1

บรรณานุกรม

1.             ผศ.ทิพย์ภา  เชษฐ์เชาวลิต. (2546). จิตวิทยาพัฒนาการสำหรับพยาบาล.
                       พิมพ์ครั้งที่  3. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์, 140 หน้า.
2.             กัลยา นาคเพ็ชร์, จุไร อภัยจิรรัตน์, สมพิศ ใยสุ่น.(2548).  จิตวิทยาพัฒนาการสำหรับพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพมหานคร: บริษัทสำนักพิมพ์สุภา, 240 หน้า
3.             เอื้อมพร สกุลแก้ว.(2550). คู่มือการตั้งครรภ์ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพมหานคร: บริษัทเอ้าท์ สแตนดิ้ง พับลิเคชั่น.
4.             ธีระพงศ์ เจริญวิทย และคณะ.(2551). สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.
5.             สุภาวดี  เครือโชติกุล.(2549). การพยาบาลสูติศาสตร์:ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัทแอคทีฟ  พริ้น จำกัด.



นางสาวทัศรินทร์  นาวารี