หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

การเกิดแฝด

 
บทนำ     
                ในยุคปัจจุบันหรือยุคโลกาภิวัฒน์ นี้  เป็นยุคที่ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงไปพัฒนาไปอย่างรวดเร็วในทุกๆด้าน  ทำให้ผู้คนต่างที่จะดิ้นรนค้นคว้าเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการจึงทำให้เกิดการพัฒนาทุกสิ่งทุกอย่างตามความต้องการมากขึ้น  และแม้แต่เชื้อโรคเองทุกวันนี้ยังมีการพัฒนาตัวเองอย่างไม่หยุดหย่อนจึงทำให้มีเชื้อใหม่ๆเกิดขึ้นมากมายและมีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ  มนุษย์เราก็เช่นเดียวกันมีการพัฒนาไปในทุกด้านเริ่มมาจากพันธุกรรมและการเลี้ยงดูของครอบครัว  ที่มีผลต่อพัฒนาการของมนุษย์ทำให้แต่ละบุคคลมีพัฒนาการที่แตกต่างกันตั้งแต่เป็นทารกที่อยู่ในครรภ์มารดา  และมีการเจริญเติบโตขึ้นทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญาสังคมและวัฒนธรรมซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมและบุคคลภายในครอบครัว                                           
               
( ผศ.ทิพย์ภา  เชษฐ์เชาวลิต,2546)   ได้กล่าวไว้ว่า  พัฒนาการวัยก่อนคลอด  คือช่วงเวลาตั้งแต่ถือกำเนิดในครรภ์มารดาหรือตั้งแต่เริ่มมีการปฏิสนธิ   ระหว่างไข่ของเพศหญิง (ovum) และสเปอร์มของเพศชาย (spermatozoa) ของเพศชาย    จนกระทั่งคลอด และในช่วงนี้โครงสร้างต่างๆของร่างกายและอวัยวะจะเริ่มก่อตัวขึ้น  และได้มีการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายอย่างรวดเร็วมากและก็จะได้รับผลกระทบต่างๆจากสิ่งแวดล้อมได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน เช่น เมื่อแม่รู้สึกเครียด ลูกก็จะเครียดตามไปด้วย
                      การพัฒนาการทางด้านต่างๆของทารกในครรภ์นี้ ก็จะเริ่มตั้งแต่การที่มีขาเล็กๆทั้งสองข้างจนกระทั่งมีการสร้างอวัยวะต่างๆที่สำคัญของทารกในครรภ์ เช่น ระบบประสาทหัวใจ แขน ขา  และอวัยวะเพศ ดังนั้น  มารดาที่ตั้งครรภ์ควรจะรีบไปพบแพทย์ เนื่องจากบางทีมารดาอาจจะเป็นโรคบางอย่างหรือมีภาวะเสี่ยงบางชนิดทีอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อทารกครรภ์ได้
1


ความหมายของพัฒนาการ

                   มีผู้ให้ความหมายของพัฒนาการไว้หลายท่าน  ดังต่อไปนี้
              พัฒนาการ  หมายถึง ลำดับการเจริญก้าวหน้าของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเกิดขึ้นเป็นผลของวุฒิภาวะและประสบการณ์
  (จรูญ, 2530)
               พัฒนาการ    หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมด้านต่างๆ ของคน ตลอดชีพทั้งในรูปแบบที่เจริญขึ้นและถดถอยลง (ศรีเรือน, 2530)
               พัฒนาการ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่มีแบบแผน รูปแบบ และเป็นขั้นตอน  (Kaluger&Kaluger,1979)
               พัฒนาการ หมายถึง วิธีการที่สลับซับซ้อนของการรวมเอาโครงสร้าง และการทำงานหลายๆอย่างเข้าด้วยกัน  (Hurlock,1982)1
                พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆ ของร่างกายซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงตาย  (Sigelman,1999)2

การปฏิสนธิ
               การปฏิสนธิจะเกิดขึ้นเมื่อไข่ได้รับการผสมกับอสุจิแล้วเท่านั้น การหลั่งอสุจิตามปกติจะมีสเปอร์มหลายล้านตัวแต่ส่วนใหญ่จะตายขณะที่ผ่านช่องคลอดไปยังมดลูก และไข่จะตกจากรังไข่ทุกเดือน
14วันก่อนมีประจำเดือน และอสุจิหนึ่งตัวสามารถเจาะไข่ได้เพียงหนึ่งฟองเท่านั้นและอสุจิที่เหลืออีกหลายล้านตัวก็จะตายไปการปฏิสนธิเกิดที่ท่อนำไข่เรียกว่าไซโก (Zygote) ไข่ที่ผสมแล้วจะเริ่มมีการแบ่งตัวเป็น 2 จาก 2 เซลล์มาเป็น 4 เซลล์และจาก 4 เซลล์มาเป็น 8 เซลล์เพิ่มเป็นเท่าตัวและหลังจากที่อสุจิผสมกับไข่ได้3-4วันตัวอ่อนจะเคลื่อนย้ายไปที่โพรงมดลูกและจะทำการฝังตัวในโพรงมดลูก กระบวนการนี้เราเรียกว่าการปฏิสนธิเพราะถือเป็นการเริ่มต้นของชีวิตใหม่หรือเกิดการตั้งครรภ์ขึ้นนั่นเอง1,3

 การเกิดฝาแฝด

           การเกิดฝาแฝดจะเกิดขึ้นได้
2กรณีตามลักษณะการเกิดคือ(ศรีเรือน,2543)
                   แฝดเหมือน  คือเกิดจากการผสมระหว่างไข่ใบเดียวกันกับอสุจิตัวเดียวกัน และมีการแยกออกเป็นเซลล์ผสม
2เซลล์ที่มียีนเหมือนกันทุกอย่าง ทำให้เด็กแฝดทั้งสองคนนี้เหมือนกันมาก และยังเป็นเพศเดียวกัน รูปร่างหน้าตาเหมือนกัน  และหากเลี้ยงในสิ่งแวดล้อมเหมือนกันบุคลิกและอุปนิสัยก็จะเหมือนกัน และบางครั้งการเกิดแฝดชนิดนี้เซลล์ไม่ได้แยกอออกจากกันออกจากกันโดยเด็ดขาด  จะเกิดแฝดที่มีลักษณะทางร่างกายซึ่งมีบางส่วนติดกันอยู่เราเรียกแฝดชนิดนี้ว่าแฝดสยาม
             
  แฝดไม่เหมือน  เกิดจากการผสมกันของไข่ 2ใบกับอสุจิ 2 ตัว ซึ่งมียีนต่างกัน เพราะฉะนั้นแฝดชนิดนี้อาจจะเป็นเพศเดียวกัน หรือคนละเพศก็ได้   แต่มีบางส่วนที่เหมือนกันได้เหมือนพี่น้องคนอื่นๆ1
พัฒนาการวัยก่อนคลอด

               พัฒนาการวัยก่อนคลอดเกิดขึ้นหลังจากที่มีการปฏิสนธิแล้ว  เพราะพัฒนาการของชีวิตใหม่จะเริ่มการพัฒนาในช่วงนี้เป็นการพัฒนาทางด้านร่างกายเกือบทั้งสิ้น และได้มีการแบ่งพัฒนาการวัยก่อนคลอดออกเป็น
3 ระยะคือ
   
1.  ระยะไซโกต  (period of the zygote or ovum)
2.  ระยะตัวอ่อน  (period of the embryo)
3. ระยะทารกในครรภ์  (period of the fetus)

ระยะไซโกต   (period of the zygote or ovum)    นับตังแต่การมีปฏิสนธิจนถึงสัปดาห์ที่ 2
                   หลังจากที่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น จะได้ไซโกตซึ่งเป็นเซลล์ผสม มีลักษณะเป็นก้อนกลม ไซโกตจะค่อย ๆ เคลื่อนที่ไปตามท่อนำไข่ไปฝังตัวที่ผนังมดลูก การเคลื่อนที่ดังกล่าวใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ระหว่างการเคลื่อนที่ ไซโกตจะมีการแบ่งตัวแบบไมโตซิส (mitosis) ตลอดเวลาในช่วง 2-3 วันแรก คือจะแบ่งตัวจาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 จาก 4 เป็น 8 ไปเรื่อย ๆ  4-5 วันต่อมาจะมีการแบ่งตัวแบบไมโอซิส (meiosis) ทำให้มีเซลล์ต่างชนิดเกิดขึ้นจนกระทั่งมาถึงมดลูก ในขณะที่ไซโกตกำลังเคลื่อนที่มา มดลูกก็มีการเตรียมพร้อมที่จะรับไซโกตไว้เช่นกันโดยมีการเพิ่มจำนวนเม็ดเลือด ปรับผนังของมดลูกให้หนานุ่มขึ้นเพื่อเป็นแหล่งอาหารและปรับให้เหมาะกับการฝังตัวของไซโกต นอกจากนั้นยังมีการหลั่งฮอร์โมนเอสโทรเจนและโปรเจสเตอโรนที่ผลิตจากรังไข่ไปบังคับให้มดลูกซึ่งปกติมีการหดตัวเป็นจังหวะให้หยุดหดตัว เพื่อช่วยให้ไซโกตสามารถฝังตัวเกาะติดกับผนังมดลูกและเจริญเติบโตได้ดีขึ้น เมื่อไซโกตเคลื่อนที่มาถึงมดลูก น้ำในโพรงมดลูกจะซึมผ่านผนังของ     ไซโกตเข้ามา ทำให้ไซโกตมีการแยกตัวออกเป็นสองส่วน คือเนื้อเยื่อชั้นนอกและเนื้อเยื่อชั้นใน เมื่อไซโกตเคลื่อนที่มาถึง ผนังมดลูกก็จะสลายผนังของตัวเอง แล้วไซโกตก็จะฝังตัวที่ผนังมดลูก (implantation) เรียกเซลล์ผสมในระยะนี้ว่าบลาสโตซีส (blastocyst) ปกติการฝังตัวจะเกิดขึ้นภายใน 10 วันนับตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ การเตรียมพร้อมของมดลูกจะเป็นอยู่ทุกเดือน หากภายใน 13 วันหลังไข่สุกไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ผนังมดลูกจะลอกตัวและถูกขับออกจากร่างกายเป็นประจำเดือน1,2,3

ระยะตัวอ่อนอ่อน  (period of the embryo)  นับตั้งแต่สัปดาห์ที่2จนถึงสัปดาห์ที่8
                   หลังจากไซโกตฝังตัวที่ผนังมดลูกแล้ว ก็จะเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนต่อไป โดยมีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซีสตลอดเวลา ทำให้เซลล์ในบลาสโตซีสเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก กลุ่มของเซลล์ที่สร้างขึ้นจะกระจายเป็นแผ่น (embryonic plate) ประมาณ 95% ของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเริ่มมีการแบ่งแยกในระยะนี้ การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นโดยเนื้อเยื่อชั้นนอกจะพัฒนาเป็นเยื่อหุ้มรกด้านแม่ (chorion) เยื่อหุ้มรกด้านลูก (amnion) รก (placenta) และสายสะดือ (umbilical cord) ส่วนเนื้อเยื่อชั้นในจะหุ้มรกด้านลูกจะมีน้ำใส ๆ เรียกว่าน้ำคร่ำ (amniotic fluid)  การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเป็นไปเรื่อย ๆ จนถึงระยะเวลาคลอดซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

สัปดาห์ที่ 2  เซลล์ของตัวอ่อน จะแบ่งตัวออกเป็น 2 ชั้นคือชั้น ectoderm และชั้น endoderm ตัวอ่อนระยะนี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 มม.
           สัปดาห์ที่ 3-4  เซลล์ของตัวอ่อนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเป็นเนื้อเยื่อ (tissue) ตัวอ่อนเริ่มเป็นรูปร่างยาวประมาณ 1/5 นิ้ว และมีขนาดเป็น 40,000 เท่าของขนาดไข่ที่มีการปฏิสนธิ อวัยวะแรกที่สร้างคือระบบประสาทส่วนกลาง ต่อมาจะมีการสร้างสมอง หัวใจ ศีรษะ ใบหน้า หู จมูก ตา แขน ขา จำนวนปล้องของลำตัวจะพัฒนาเป็นตับ หัวใจซึ่งมีร่องแบ่งกั้นชัดเจน นอกจากนี้ยังมีส่วนของกระบังลม และช่องท้อง
            สัปดาห์ที่ 5-8  ตัวอ่อนจะยาวประมาณ 1-2 นิ้ว น้ำหนัก 2.25 กรัม เริ่มมีลักษณะใกล้เคียงกับมนุษย์มากขึ้น อวัยวะต่าง ๆ เริ่มพัฒนาขึ้น รูปร่างภายนอกเริ่มปรากฏชัดขึ้น ช่วงปลายสัปดาห์ที่ 8  ระบบทางเพศมีการพัฒนามากขึ้นแต่ยังไม่สามารถแยกเพศทารกได้ชัดเจน1,2,3

ระยะทารกในครรภ์(period of the fetus) นับตั้งแต่สัปดาห์ที่8 จนกระทั่งคลอด
 ระยะนี้เป็นระยะที่เปลี่ยนจากตัวอ่อน (embryo) มาเป็นทารก (fetus) มารดาจะรู้สึกว่ามีทารกอยู่ในครรภ์ โดยจะเริ่มรู้สึกว่าทารกมีการเคลื่อนไหวในสัปดาห์ที่ 16 เป็นระยะที่ใช้เวลานานที่สุด สัดส่วนโครงสร้างของร่างกาย อวัยวะและระบบต่าง ๆ ของร่างกายสมบูรณ์ยิ่งขึ้น การเจริญเติบโตจะเป็นไปอย่างรวดเร็วประมาณ 20 เท่าของตอนเป็นตัวอ่อน  เริ่มมีการสร้างขน ผม เล็บ และอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก กระดูกจะแข็งแรงขึ้น ช่วงนี้มารดาต้องบำรุงร่างกายด้วยการรับประทานแคลเซียมให้มากกว่าเดิม เพราะทารกจะเอาแคลเซียมจากมารดามาสร้างกระดูกของตนเอง การเคลื่อนไหวของลำไส้จะพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งสัปดาห์ที่ 38 จะมีความสมบูรณ์เต็มที่พร้อมจะออกจากครรภ์มารดา โดยสรุปพัฒนาการของระยะนี้คือ


              เดือนที่  3  ทารกจะมีน้ำหนักตัว ประมาณ 14 กรัม ยาวประมาณ 3 นิ้ว อวัยวะทุกส่วนของร่างกายพัฒนาขึ้น  เริ่มเห็นเพศชัดเจนว่าเพศชายหรือหญิง  สามารถเคลื่อนไหว ขา เท้า หัวแม่มือ ศีรษะ อ้าและหุบปากได้
               เดือนที่  4  ความยาวของทารก ประมาณ 15เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 114 กรัม ระยะนี้สายสะดือจะยาวขึ้น รกพัฒนาเต็มที่ ทารกสามารถดิ้นได้ มองเห็นอวัยวะเพศชัดขึ้น เริ่มดูดนิ้วและกำมือได้ สามารถดูดกลืนได้ กระดูกพัฒนามากขึ้น
                เดือนที่  5 ทารกจะมีน้ำหนักตัว ประมาณ 200-300 กรัม ความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร เริ่มมีผมและเล็บเกิดขึ้น ผิวหนังมีไขมันปกคลุม สามารถฟังเสียงเต้นของหัวใจได้ชัดเจน
                เดือนที่  6  ทารกจะมีน้ำหนักตัว ประมาณ 500-600 กรัม ยาวประมาณ 28-30 เซนติเมตร  ตาจะมีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ สามารถเปิดปิดตา และร้องไห้ได้  หายใจได้ตลอดเวลา ใต้ผิวหนังจะมีชั้นไขมันเกิดขึ้น มีต่อมเหงื่อ ต่อมรับรส หากคลอดช่วงนี้ทารกจะสามารถหายใจได้ หากได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทารกอาจมีชีวิตรอด 1 ใน 10 คน
                เดือนที่ 7 ทารกจะมีน้ำหนักตัวประมาณ 1,000-1,200 ความยาวประมาณ 35-38  เซนติเมตร  พัฒนาการด้านปฏิกิริยาตอบสนองเป็นไปได้อย่างเต็มที่ ทารกสามารถร้องไห้ หายใจ ดูดกลืนได้ ระบบประสาท ระบบไหลเวียน ระบบหายใจสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อวัยวะทุกส่วนพัฒนาเต็มที่ ทารกที่คลอดในระยะนี้หากได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญอาจมีชีวิตอยู่รอดได้โดยการเลี้ยงในตู้จนกว่าทารกจะแข็งแรงพอที่จะออกมาอยู่ภายนอกได้
            เดือนที่ 8 ทารกจะมีน้ำหนักตัวประมาณ 1,600 กรัม ความยาวประมาณ 38-43 เซนติเมตร สามารถสังเกตการเคลื่อนไหวทารกได้จากภายนอก มีการสร้างไขมันปกคลุมร่างกายเพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิภายนอกได้ ทารกจะตอบสนองต่อเสียงและสิ่งแวดล้อมได้
            เดือนที่ 9-10 ทารกจะมีน้ำหนักตัวประมาณ 3000 กรัม ความยาวประมาณ 48-52 เซนติเมตร เพศชายมักมีน้ำหนักและความยาวมากกว่าเพศหญิง เป็นระยะครบกำหนดคลอด ทารกจะพัฒนาสมบูรณ์เต็มที่1,2,3


ภาวะวิกฤติของทารกในครรภ์
                    ระยะนี้ถือเป็นระยะสำคัญที่สุดของทารกในครรภ์ ทารกจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและชัดเจน เป็นระยะที่อันตรายที่สุด และมักจะเป็นระยะต้นของการเจริญเติบโตเนื่องจากอยู่ในระหว่างการสร้างอวัยวะและระบบการทำงานในร่างกายจะพัฒนาขึ้น เช่น ระบบประสาท ระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร และอวัยวะต่าง ๆ และสุขภาพของมารดาขณะตั้งครรภ์ก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุดสำหรับในระยะนี้ ทั้งในเรื่องของการฝากครรภ์ การดูแลตนเองในขณะตั้งครรภ์ สภาพจิตใจ อารมณ์ของมารดา โรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น สารพิษ ยา หรืออาหารที่มารดารับประทานจะส่งผลต่อพัฒนาการของทารกเพราะอาจทำให้ทารกที่จะเกิดมาพิการได้ ระยะนี้จึงถือเป็นระยะวิกฤต หากทารกไม่สามารถปรับตัวให้มีชีวิตอยู่ในครรภ์ได้ ก็อาจจะเป็นสาเหตุให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตได้1

การตั้งครรภ์นอกมดลูก
              การตั้งครรภ์นอกมดลูก หมายถึง การตั้งครรภ์ที่เกิดจากการที่ไข่ถูกผสมแล้วฝังตัวนอกโพรงมดลูกโดยร้อยละ95เกิดที่หลอดมดลูกและนอกจากนั้นยังสามารถพบการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ที่รังไข่ ปากมดลูก และในช่องท้อง รวมไปถึงตับ และม้ามได้

  สาเหตุ
1.             การเพิ่มขึ้นของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
2.             การแท้งติดเชื้อ
3.             การผ่าตัดแก้ไขภาวะหลอดมดลูกตีบหรือการผ่าตัดเชื่อมหลอดมดลูกใหม่
4.             การนำเทคนิคการรักษาผู้มีบุตรยากมาใช้

การรักษา
1.             การตัดหลอดมดลูก คือการตัดหลอดมดลูกของรังไข่ร่วม
2.             การผ่าตัดยังเก็บรักษาหลอดมดลูกไว้
3.             ใช้ยาหรือเคมีบำบัด4

การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก

            เป็นการตั้งครรภ์ผิดปกติชนิดหนึ่ง และยังกลายเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง

สาเหตุ
           สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดแต่น่าจะมาจาก
      1. อายุ โดยคนที่มีอายุ มากกว่า  45 ปี ขึ้นไปมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนที่มีอายุ 20-40 ปีถึง10 เท่า
       2. ภาวะโภชนาการ จะพบว่ากลุ่มคนที่ขาดอาหารประเภทไขมันจากสัตว์และแคโรทีนอาจเป็นต้นเหตุขิงการเกิดโรคชนิดนี้ได้

การรักษา
1.             การใช้สารเคมีบำบัดเพื่อป้องกันการกลายเป็นมะเร็ง
2.             การดูดเอาเนื้อรกออกพร้อมกับการขูดมดลูก
3.             การผ่าตัดเอามดลูกออก
4.             ทำให้สิ้นสุดการตั้งครรภ์5

การตั้งครรภ์แฝด
              การตั้งครรภ์แฝด หมายถึง การตั้งครรภ์ที่มีทารก 2 คนขึ้นไปพร้อมกันอาจเกิดจากไข่ใบเดียวกันหรือคนละใบก็ได้

สาเหตุ
1.            พันธุกรรม
2.            มีประวัติได้รับการรักษาภาวการณ์มีบุตรยาก โดยได้รับยากระตุ้นเร่งการตกไข่
3.            เชื้อชาติ พบในคนผิวดำมากกว่าผิวขาว
4.            อายุและจำนวนครั้งของการตั้งครรภ์

ผลต่อทารกในครรภ์
1.             ทารกพิการแต่กำเนิด
2.             อัตราการตายของทารกเพิ่มขึ้นโดยอาจจะมีการตายของทารกแฝดอีกคนหนึ่ง
3.             ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ
4.             ถุงน้ำคร่ำแตกตัวก่อนกำหนด และเกิดสายสะดือย้อย

การรักษา
       เนื่องจากสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้มากมายในครรภ์แฝด การดูแลรักษาก็ต้องแตกต่างออกไปจากการตั้งครรภ์ปกรติ สตรีตั้งครรภ์แฝดต้องได้รับการดูแลระหว่างตั้งครรภ์บ่อยกว่าปกติโดย  และจะต้องตรวจการเจริญเติบโตของทารกอย่างใกล้ชิดและเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด5

การแท้ง
        การแท้ง หมายถึง การสิ้นสุดการตั้งครรภ์ก่อน 28 สัปดาห์หรือก่อนที่ทารกจะเจริญเติบโตออกมามีชีวิต

สาเหตุของการแท้ง
       สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้
1.             สาเหตุจากทารก
สามารถแบ่งการเจริญผิดปกติของตัวอ่อนออกเป็น 2 กลุ่มคือ
1.1 กลุ่มที่มีจำนวนผิดปกติ ของโครโมโซม  พบได้ร้อยละ  50-60 ส่วนใหญ่แท้งก่อนอายุครรภ์ 12สัปดาห์ โดยพบโครโมโซมบางคู่เกินมา1ตัว เรียกว่า ไตรโซมี่ (trisomy) เป็นต้น    (Scott, 1999; โกวิท  คำพิทักษ์, 2542)
  1. 2 กลุ่มที่มีจำนวนโครโมโซมปกติ ส่วนใหญ่จะเกิดการแท้งหลังอายุครรภ์เกิน 12สัปดาห์ไปแล้ว และพบได้บ่อยในสตรีที่มีอายุมากกว่า 35ปี ขึ้นไป  (โกวิท  คำพิทักษ์, 2542)
      2. สาเหตุจากมารดา
             ส่วนใหญ่มักเป็นการแท้งแบบจำนวนโครโมโซมปกติและมักจะเกิดในไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ และมีสาเหตุดังต่อไปนี้
1.             อายุ สตรีที่มีอายุน้อยกว่า20 ปี และมีอายุมากกว่า 40ปี มีโอกาสจะแท้งมากกว่าสตรีวัยเจริญพันธุ์และถ้ามีอายุมากกว่า45 ปีมีโอกาสเกิดการแท้งสูงมากกว่าร้อยละ 50 (Scott,1999)
2.             การติดเชื้อ การติดเชื้อไวรัสบางชนิดอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดการแท้งได้ เช่น เริมที่อวัยวะสืบพันธุ์ หรือการติดเชื้อซิฟิลิส
3.             ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ
4.             ความผดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์
5.             ภาวะทุพโภชนาการอย่างรุนแรง
6.             แรงกระทบกระเทือนสะภาวะทางด้านอารมณ์
7.             การได้รับสารพิษหรือสารเสพติดบางชนิด

การรักษา
1.             หาสาเหตุและให้การรักษาในระยะที่ยังไม่ตั้งครรภ์
2.             ตรวจหาระดับฮอร์โมน
3.             ทำการผ่าตัดแก้ไขภาวะความผิดปกติของมดลูก
4.             รกลอกตัวก่อนกำหนด หมายถึง การลอกตัวของรกในช่วงเวลาก่อนการคลอดตามปกติของทารก5

รกลอกตัวก่อนกำหนด
          รกคลอดตัวก่อนกำหนดเป็นการลอกตัวของรกในช่วงเวลาก่อนการคลอดของารกและภาวะนี้จะมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ
1.             มีการลอกตัวของรก
2.             รกเกิดการลอกตัวในช่วงก่อนที่ทากรจะคลอด
3.             รกจะต้องเกาะในตำแหน่งปกติ

สาเหตุ
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าเกี่ยวข้องกับภาวะดังต่อไปนี้
1.              ความดันโลหิตสูง  เป็นภาวะร่วมที่พบได้บ่อยที่สุดซึ่งรวมทั้งความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ และความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
2.             การสูบบุหรี่  ในภาวะนี้พบได้เป็น 2 เท่าในคนสูบบุหรี่ เพราะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดถึงร้อยละ 40 ต่อการสูบบุหรี่ที่นานขึ้นในแต่ละปี
3.             โคเคน สตรีตังครรภ์ที่ใช้โคเคนมีโอกาสเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดสูงกว่าสตรีทั่วไปมาก
4.             เนื้องอกมดลูก โดยเฉพาะเนื้องอกมดลูกบริเวณที่รกเกาะจะทำให้เกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดได้มากกว่า กรณีที่เป็นก้อนเนื้องอกไม่ได้อยู่ในบริเวณที่รกเกาะ

การรักษา

1.             การรักษาแบบ Expectant ในกรณีทารกก่อนกำหดสำหรับในทารกในรายที่มีเลือดออกไม่มากคือไม่ทำให้ซีดหรือไม่มีภาวะ hypovolemic และให้พิจารณาจากสภาพของทารกในครรภ์เป็นหลัก
2.             การทำให้คลอด ในรายที่รกลอกตัวก่อนกำหนดและมีเลือดออกมากควรให้การรักษาอย่างรีบด่วน โดยการให้เลือดทดแทนร่วมกับน้ำเกลือและพยายามทำให้คลอดอย่างรวดเร็วเพื่อรักษาชีวิตทั้งของมารดาและทารก4

การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับตัว
             การส่งเสริมสุขภาพจิตของมารดาขณะตั้งครรภ์นั้นเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากจะมีผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ ดังนั้น จึงได้มีการการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับตัวของมารดา โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

                1. แนะนำเรื่องการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เพราะความเจ็บป่วยทางร่างกายของมารดาอาจจะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ เช่น หากมารดาป่วยเป็นโรค หัดเยอรมัน อาจส่งผลให้ทารกแท้งหรือพิการได้ และหากเป็นโรค ซิฟิลิส อาจทำให้เกิดอาการแท้ง หรือคลอดก่อนกำหนด ดังนั้นมารดาควรไปปรึกษาแพทย์และไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
2. ให้ความรู้ด้านโภชนาการของมารดา ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาทางร่างกายของทารก หากมารดาได้รับอาหารที่มีคุณค่าในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้ทารกในครรภ์สามารถนำสารอาหารไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตของร่างกายได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่อาจก่อให้เกิดอันตรายและสารเสพติดต่างๆ เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้
                4.  กระตุ้น ให้หญิงตั้งครรภ์ ระบายความรู้สึก  ความไม่สบายใจ ออกมาเพื่อที่จะลดความวิตกกังวลหลายๆอย่างที่จะทำให้หญิงตั้งครรภ์เกิดความรู้สึกไม่สบายใจ เช่น กลัวอ้วน กลัวไม่สวย กลัวการคลอดบุตร กลัวบุตรที่จะเกิดมาไม่สมบูรณ์
               5.  แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนใกล้ตัวหรือคนที่เคยตั้งครรภ์มาก่อนเพื่อไม่ให้รู้สึกเหงา และคลายความวิตกกังวลไปได้
               6.  ให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งบริการที่เป็นประโยชน์และสามารถให้ความช่วยเหลือแก่ตนเองได้ เช่น โรงพยาบาลใกล้เคียง สถานีอนามัย นักสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น
               7.   แนะนำบทบาทที่สำคัญของความเป็นแม่ และการเตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อยที่จะเกิดมา
               8.  แนะนำให้มารดาพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อลดความตึงเครียด ผ่อนคลายอารมณ์ เช่นการดูหนังฟังเพลง เป็นต้น
               9.  แนะนำให้บุคคลในครอบครัวดูแลเอาใจใส่หญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะสามีควรดูแลเอาใจใส่ภรรยาเป็นพิเศษ เพราะการสนับสนุนจากสามีด้านต่างๆเหล่านี้จะทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความวิตกกังวลลดลง และสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ และนอกจากนี้ยังพบว่าการสนับสนุนจากสามี มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อทารกในครรภ์ในระดับสูง1

สรุป
                วัยก่อนคลอด เป็นวัยที่เริ่มจากเซลล์ผสม (zygote) ระหว่างเซลล์สืบพันธุ์ของเพศชาย (spermatozoa) กับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิง (ovum) จนกระทั่งเจริญเติบโตเป็นทารกที่มีอวัยวะทุกส่วนสมบูรณ์เต็มที่ พร้อมที่จะออกมาสู่โลกภายนอกได้ วัยก่อนคลอดถือเป็นวัยสำคัญมาก เป็นพื้นฐานของการพัฒนาอวัยวะระบบต่าง ๆ ของร่างกาย  การให้การดูแลทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์อย่างเหมาะสมด้วยการให้คำแนะนำ แก่มารดาอย่างเหมาะสมในการปฏิบัติตัวด้านต่าง ๆ เช่น การดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์  การทำจิตใจให้แจ่มใส การใช้ยาขณะตั้งครรภ์ เป็นต้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้พัฒนาการของทารกในครรภ์เป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น1

บรรณานุกรม

1.             ผศ.ทิพย์ภา  เชษฐ์เชาวลิต. (2546). จิตวิทยาพัฒนาการสำหรับพยาบาล.
                       พิมพ์ครั้งที่  3. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์, 140 หน้า.
2.             กัลยา นาคเพ็ชร์, จุไร อภัยจิรรัตน์, สมพิศ ใยสุ่น.(2548).  จิตวิทยาพัฒนาการสำหรับพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพมหานคร: บริษัทสำนักพิมพ์สุภา, 240 หน้า
3.             เอื้อมพร สกุลแก้ว.(2550). คู่มือการตั้งครรภ์ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพมหานคร: บริษัทเอ้าท์ สแตนดิ้ง พับลิเคชั่น.
4.             ธีระพงศ์ เจริญวิทย และคณะ.(2551). สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.
5.             สุภาวดี  เครือโชติกุล.(2549). การพยาบาลสูติศาสตร์:ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัทแอคทีฟ  พริ้น จำกัด.



นางสาวทัศรินทร์  นาวารี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น