หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

การค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการหายใจที่ผิดปกติ


การค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการหายใจที่ผิดปกติ
จากการค้นคว้างานวิจัยบทความวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1.             งานวิจัยจำนวน 1 เรื่อง
2.             บทความวิจัยจำนวน 4 เรื่อง
ประเด็นเรื่อง การหายใจที่ผิดปกติ งานวิจัยจำนวน 5 เรื่อง ที่ได้กล่าวถึงการหายใจมีดังนี้
1.             เรื่อง ภาวการณ์อุดกั้นทางเดินหายใจ ส่วนบนตอนนอนในเด็ก (Obstructive Sleep Apnea)
: ข้อมูล หน่วยระบบหายใจและไอซียู สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีhttp://www.thaipedlung.org/breathe    วันที่ 29/09/2554 เวลา 03.55.
สามารถสรุปได้ดังนี้พบได้ในเด็กทุกอายุ แต่พบมากในเด็กช่วงอายุ 2-6 ปี ถ้าไม่รักษาจะทำให้เด็กมีภาวะพร่องออกซิเจนขณะหลับ หยุดหายใจเป็นช่วงๆ ซึ่งอาจทำให้สติปัญญาถดถอย, สมาธิสั้น, หัวใจโตหรือเสียชีวิตอย่างกระทันหันได้http://www.thaipedlung.org/images/spacer.gifสาเหตุมักเกิดจาก ต่อมทอนซิลที่อยู่ข้างโคนลิ้นและต่อมอดีนอยด์ที่อยู่หลังจมูกมีขนาดโตเบียด บังทางเดินหายใจส่วนบน  อาการเด็ก มักจะนอนกรนร่วมกับมีอาการหายใจลำบากขณะนอนหลับ  การวินิจฉัย วิธี การทดสอบที่ดีที่สุด สำหรับการวินิจฉัยภาวะนี้เรียกว่า Polysomno- graphy (Sleep Lab.) เป็นการตรวจด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ในขณะที่เด็กหลับตลอดคืน ทำโดยให้เด็กมานอนในห้องพิเศษที่ โรงพยาบาล 1 คืน มีพยาบาลพิเศษ คอยสังเกตการหายใจของเด็ก เครื่องคอมพิวเตอร์จะวัดค่าต่างๆ ผ่านสายที่แปะด้วย สติกเกอร์ที่ตำแหน่งต่างๆ บน ตัวเด็กและบันทึกข้อมูลไว้ตลอด 8 ชั่วโมง   
ในเด็ก ส่วนใหญ่มักจะดีขึ้น หลังการผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลและ อดีนอยด์ออก ในรายที่สาเหตุเกิดจากความอ้วน ถ้าลดน้ำหนักลง อาการมักจะดีขึ้น บางรายอาจจำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยหายใจชนิด CPAP ไปตลอด ถ้ารักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล

2.       เรื่อง Sleep Apnea ง่วงนอน กรน นอนไม่อิ่ม
 : ข้อมูลโดย กิตติมา วัฒนากมลกุล   ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลhttp://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=49//  วันที่ 29/9/2554 เวลา 03.30 .
สมารถสรุปได้ดังนี้: ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (sleep apnea) เป็นภาวะที่มีการหยุดหายใจเป็น   ระยะๆหรือมีการหายใจตื้นๆสลับกับการหายใจที่ เป็นปกติในระหว่างที่นอนหลับ ซึ่งช่วงการหยุดหายใจอาจเป็นเพียงไม่กี่วินาทีหรืออาจยาวเป็นนาที โดยมักเกิด 5-30 ครั้งหรือมากกว่าในเวลา 1 ชั่วโมง ส่งผลให้นอนหลับได้ไม่เต็มที่ และมีอาการง่วงมากผิดปกติในช่วงระหว่างวันตามมารวมทั้งสมาธิและความจำก็จะลดลง  โดยส่วนใหญ่แล้วภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่พบนั้นจะเป็นประเภทที่มีการอุดกั้น ของทางเดินหายใจ (obstructive sleep apnea) มีสาเหตุมาจากการคลายตัวของกล้ามเนื้อที่ทางเดินหายใจ การหนาตัวของเนื้อเยื่อผนังคอในผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาก การโตของต่อมทอนซิลในเด็ก หรือภาวะเนื้องอกบริเวณทางเดินหายใจ เป็นต้น ซึ่งการที่อากาศต้องเดินทางผ่านทางเดินหายใจที่แคบลงสามารถก่อให้เกิด เสียงกรนขึ้นได้    อีกประเภทหนึ่งที่พบได้น้อยกว่านั่นคือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเนื่องความผิดปกติของการสั่งงานของสมอง (central sleep apnea) ภาวะนี้สมองส่งสัญญาณควบคุมที่ผิดปกติไปยังกล้ามเนื้อในระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการหยุดหายใจชั่วครู่

3.             เรื่อง การหายใจกับการทำงาน
              : ข้อมูล กัลยาคลินิกกายภาพบำบัด
               http://www.kanyapt.com/01/index.php/   วันที่ 29/09/2554   เวลา 03.51 .
สามารถสรุปได้ดงนี้: "การหายใจ"  ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนสามารถทำได้ การหายใจของคนเราแบ่งออกตามลักษณะการทำงาน ของกล้ามเนื้อได้ 3 ลักษณะ ได้แก่ การใช้กล้ามเนื้อกะบังลม การหายใจลักษณะ นี้จะเกิดขึ้นเมื่อเราหายใจแบบสบายๆ การใช้กล้ามเนื้อชายโครง การ หายใจในลักษณะนี้จะเกิดขึ้นร่วมกับการ หายใจแบบแรก    การใช้กล้ามเนื้ออกและกล้ามเนื้อซี่โครงส่วนบน การหายใจแบบนี้จะ หายใจสั้นและเร็ว เวลาหายใจหน้าอกจะยกขึ้น มักพบการหายใจลักษณะนี้เมื่อหอบหรือเหนื่อย เช่น ขณะที่ออกกำลังกาย
หายใจควรกลับมาสู่ภาวะปกติ  การหายใจที่ผิดปกติอาจเป็นผลมาจากความเครียด ความวิตกกังวล หรือภาวะทางอารมณ์อื่นๆ  หากมี ภาวะอาการเกร็งของกล้ามเนื้อที่ใดที่หนึ่งอยู่ ให้เรียนรู้ที่จะปล่อย และผ่อนคลายกล้ามเนื้อนั้นลง และหากมีความเครียดอยู่ ให้หาทางขจัดความเครียดออก
4.             เรื่อง กลุ่มอาการหายใจเร็วกว่าปกติ
: ข้อมูล http://th.wikipedia.org/wiki/ วันที่ 29/9/2554  เวลา 04.4 .
สามารถสรุปได้ดังนี้: กลุ่มอาการหายใจเร็วกว่าปกติ (อังกฤษ: Hyperventilation syndrome) คือความผิดปกติในระบบทางเดินหายใจ ที่มีพื้นฐานมาจากความผิดปกติทางกายภาพหรือทางจิตวิทยา มีความเกี่ยวข้องกับการหายใจลึกและถี่เกินไป (หายใจเร็วกว่าปกติ) กลุ่มอาการหายใจเร็วกว่าปกติอาจแสดงในลักษณะอาการปวดหน้าอก รู้สึกชาที่ปลายนิ้วหรือริมฝีปาก และอาจเกิดอาการร่วมกับอาการกลัว (Panic attack)     ผู้ที่มีการป่วยมักจะรู้สึกเหมือนตัวเองได้รับอากาศไม่เพียงพอ แต่ในความเป็นจริงแล้ว พวกเขามีปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือดแดง และมีคาร์บอนไดออกไซด์น้อยเกินไปในเลือดและเนื้อเยื่อ

5.             เรื่องการรักษาอาการนอนกรน
: ข้อมูล www.krunok.net/index2.php/ วันที่ 28/09/2554 เวลา 02.30.
สามารถสรุปได้ดังนี้: ผู้ป่วยที่มีอาการนอนกรน และ/หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อาจเกิดจากหลายสาเหตุ และมีจุดอุดกั้นทางเดินหายใจหลายตำแหน่ง. ดังนั้นการทำผ่าตัดแก้ไขจุดใดจุดหนึ่งเพียงจุดเดียว อาจไม่ช่วยแก้ไขอาการให้ดีขึ้นมากนัก อาจต้องมาผ่าตัดซ้ำเพื่อแก้ไขทางเดินหายใจที่แคบส่วนอื่นๆ หรือใช้เครื่อง CPAP หรือ intraoral appliances ร่วมด้วยทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของการผ่าตัด, จุดอุดกั้นทางเดินหายใจ    และ ความรุนแรงของโรค. หลังผ่าตัดควรติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง. การรักษาที่เหมาะสมนั้น   นอกจากขึ้นกับสาเหตุและตำแหน่งที่ตรวจพบแล้ว ยังต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ในผู้ป่วยแต่ละรายด้วย เช่น
 สุขภาพโดยทั่วไปของผู้ป่วย. ภาวะแทรกซ้อนของภาวะหยุดหายใจ ขณะหลับที่มีผลต่อระบบต่างๆของร่างกาย โรคประจำตัว สภาพเศรษฐฐานะและสังคมของผู้ป่วย เป็นต้น. ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยมีหรือสงสัยว่ามีอาการนอนกรน และ หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับควรรีบทำการวินิจฉัยตรวจหาสาเหตุของโรค ประเมินความรุนแรงและ พิจารณาแนวทางรักษาที่เหมาะสมแต่เนิ่นๆ. การให้การรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที จะช่วยให้อัตราเสี่ยงต่อโรคต่างๆและอัตราตายลดลง และทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น.


นางสาวศุภรัตน์  นากร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น