หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

สมอง Brain

บทนำ
               วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันก้าวหน้าไปถึงขั้นที่เราจะสามารถศึกษาความสุขและความทุกข์ได้   การที่เราจะกำหนดความสุขให้อยู่กับเราไปนานๆเราต้องรู้จักปล่อยวางเรื่องที่เกิดขึ้นในแต่ละวันของเรา แต่ความทุกข์ก็เป็นสิ่งจำเป็น  หากใครใช้ความทุกข์เป็นเขาคนนั้นจะเป็นคนทีมีเหตุผลทางความคิดมาก ความรู้เป็นของมีค่า  เป็นเครื่องมือในการหาเลี้ยงชีพ  แต่ความรู้และทรัพย์สินก็คงยังไม่พอที่จะทำมนุษย์มีความสุขไปตลอด   แต่ถ้าเราปล่อยให้ความทุกข์อยู่กับเราไปนานๆก็ไม่ดี  เราต้องคิดเสมอว่า  ทุกข์ได้ ก็ สุขได้เช่นกัน   เมื่อเราเข้าใจสมองเราก็จะเข้าใจอารมณ์ของตนเอง เราก็จะสามารถทำชีวิตให้มีความสุขได้และลดทอนความทุกข์ได้เป็นอย่างดี
                      ความสุขทำให้คนฉลาดได้  คนที่มีความสุขมากๆนอกจากหน้าตาแจ่มใส  ผิวพรรณดีแล้วลึกเข้าไปในสมอง  จะมีสารเคมีที่หลั่งออกมาบำรุงสมองเป็นจำนวนมากสารเคมีทำให้สมองโล่งและตื่นตัว  สารเอนดอร์ฟีนเป็นสารที่หลั่งออกมาในสมองในตอนที่เรามีความสุขทำให้เรียนรู้ดี   เข้าใจง่ายขึ้น  ส่วนสารโดพามีนเป็นสารที่หลั่งออกมาเมื่อเรามีความสุขแบบปลื้มใจโดพามีน มีความพิเศษคือเป็นสารแห่งความจำช่วยให้เราจำข้อมูลต่างๆได้ดี    คนฉลาดจะต้องดูแลให้ชีวิตของเขาเป็นสุขอยู่เสมอ และคนที่มีความสุขนั้นจะมีต้นทุนทางสมองสูงพอที่จะพัฒนาเป็นความฉลาดได้    การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการทำหน้าที่ต่างๆของชิวีตคน                                                                                                                                                                                                                                                             สมองเป็นศูนย์การควบคุมการสั่งการ การจดจำ การคิดและความรู้สึกต่างๆ ของชีวิตของมนุษย์ ประกอบด้วยตัวเซลล์ประมาณ 10 พันล้านตัว ถึง 12 พันล้านตัว แต่ละตัวมีเส้นใยที่เรียกว่า แอกซอน (Axon) และเดนไดรต์(Dendrite) สำหรับให้ กระแสไฟฟ้าเคมี(Electrochemical) แล่นผ่านถึงกัน การที่เราจะคิด หรือจดจำสิ่งต่างๆ นั้น เกิดจากการเชื่อมต่อของกระแสไฟฟ้าในสมอง โดยการทำงานของสมองจะทำงานกันเป็นกลุ่ม คือ เซลล์ประสาทจะมารวมกันเป็นกลุ่มแล้ว ทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง เซลล์ประสาทเหล่านี้จะติดต่อถึงกัน ทำให้เกิดการทำงาน มีกระแสไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลา และสามารถแสดงผลการทำงานที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แม้ในยามหลับ หรือหมดสติ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมอง จะมีลักษณะเป็นคลื่นไฟฟ้าซึ่งมีความถี่ที่มีรูปแบบ เฉพาะอยู่ในเซลล์ประสาท และเมื่อมีข้อมูลใหม่ๆ เข้าไปในสมองกระแสไฟฟ้าจะมีคลื่นความถี่ที่มีรูปแบบเฉพาะ
                  ระบบประสาท ( Nervous system )  เป็นระบบที่เป็นจุดศูนย์กลาง  การทำงานต่างๆของร่างกาย  โดยมีหน้าที่ที่สำคัญได้แก่  การกระตุ้น และ  ควบคุมการเคลื่อนไหว  การรับความรู้สึกจากสิ่งเร้าที่มากระตุ้นทั้งภายในและภายนอกร่างกาย  ควบคุมพฤติกรรม  การเรียนรู้ ความจำ  ความคิด  และการตอบสนองทางอารมณ์
                  ระบบประสาทแบ่งตามโครงสร้างได้เป็น
1.      ระบบประสาทส่วนกลาง  (central  nervous  system )
2.      ระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral  nervous system )
ระบบประสาทส่วนกลาง( Central Nervous  system , CNS )
ระบบประสาทส่วนกลางจะประกอบไปด้วย สมอง (brain) และไขสันหลัง (spinal  cord)  ซึ่งระบบประสาทส่วนกลางจะทำหน้าที่ในการประมวลรวบรวมข้อมูลที่ได้รับทั้งจากระบบการรับความรู้สึก และการเคลื่อนไหวโดยข้อมูลจากการรับความรู้สึกก็มาจากสิ่งกระตุ้นทั้งภายในและภายนอกร่างกาย  ส่วนการควบคุมนั้นจะควบคุมโดยเซลล์ประสาทสั่งการ (motor  neuron)  ผ่านมาทางเส้นประสาทสั่งการ( motor nerve)  ลงมาควบคุมให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวและยังทำให้ร่างกายเกิดสมดุล (balance) นอกจากนี้ยังมีหน้าที่เกี่ยวกับ ความจำความฉลาด การเรียนรู้  และแสดงอารมณ์ต่างๆ

1.              โครงสร้างของสมอง
สมอง Brain
โครงสร้างของสมอง
                สมอง  มนุษย์มีสมองที่มีการพัฒนามากที่สุด
                สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน  ได้แก่
1.             สมองส่วนหน้า (Prosencephalon หรือ Forebrain ) แบ่งเป็น
1.1 Telencephalon  ได้แก่Cerebral  hemisphere  หรือ  cerebrum  และ  Deep  Terencephalon   nuclei  ( basal  ganglia)
1.2  Diencephalon  หรือ  Thalamum
2.    สมองส่วนกลาง  (Mesencephalon  หรือ Midbrain )  ประกอบด้วย  Corpora  Quadrigemina  และ  Cerebral  peduncle
3.   สมองส่วนหลัง  (Rhombencephalon  หรือ  Hind Brain)แบ่งเป็น 
                3.1  Metencephalon   ได้แก่  Pons  และ   Cerebellum
                3.2  Myelencephalon  ได้แก่  Medulla  oblongata
สมองส่วนหน้า  (  Prrpsencephalon)
                                Cerebral  Hemisphere  สมองส่วนนี้มี  2 ข้าง  มาเชื่อมกันตรงกลางด้วย  Corpus  callusum  ส่วนเปลือกนอกเรียกว่า  Cerebral  cortex  มีลักษณะเป็นลอนส่วนนูน  เรียกว่า  gyrus  และมีร่องเรียกว่า  Sulcus
ถ้าเป็นร่องลึกๆเรียกว่า  Fissure  ซึ่งในส่วนเปลือกนี้เป็นที่อยู่ของเซลล์ประสาท  เนื้อข้างในจะเป็น  White  matter
ซึ่งประกอบด้วย เส้นประสาท  Nerve  fibers
                                 Cerebral  Hemisphere   แต่ละข้างจะแบ่งเป็นกลีบๆ  โดยร่องที่ลึกเป็น  5 กลีบ  ได้แก่   frontal  lobe   parietal  lobe   temporal  lobe   occipital  lobe  insula lobe
                                                Frontal  lobe  เป็นกลีบหน้าของสมองแยกจาก   parietal  lobe  ด้วยร่องชื่อ  central  sulcus  และแยกจาก  temporal  lobe  ด้วยร่องชื่อ  lateral  sylvian  fissure  ด้านหน้า  central  sulcus
                                                Parietal  lobe  เป็นกลีบที่อยู่ต่อหลัง central  sulcus  แยกออกจาก  occipital  lobe โดยร่องที่อยู่ด้านในมีชื่อว่า  parieto  occipital fissure  ลอนที่อยู่หลังต่อ   centrel  sulcus  มีชื่อว่า  postcentral  gyrus  จะเป็นบริเวณที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความรู้สึกร่างกายด้านตรงข้าม  บริเวณส่วนล่างของกลีบนี้เป็นบริเวณที่ทำหน้าที่ที่ผสมผสานการรับรู้ต่างๆ




นางสาวอุบลวรรณ  พวงแก้ว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น