หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

การดูแลผู้ป่วยโรคไตวานเรื้อรัง


การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง



1.            โรคไตวายเรื้อรังเกิดขึ้นจากสาเหตุ
              โรคไตวาย คือ ภาวะที่ไตทำงานผิดปกติ ปกติไตจะทำหน้าที่ขับถ่ายของเสียออกทางปัสสาวะ ดังนั้น ภาวะไตวายก็คือ ภาวะที่ไตจะไม่สามารถขับของเสียรวมทั้งเกลือแร่ต่าง ๆ ออกมาทางปัสสาวะได้ ของเสียเหล่านั้นก็จะคั่งค้างอยู่ในกระแสเลือด ภาวะไตวายโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง ไตวายเฉียบพลันเป็นภาวะที่เกิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงที่ไตน้อยลง เช่น คนไข้มีอาการความดันโลหิตต่ำอยู่ในภาวะช็อกนาน ๆ หรือคนไข้ที่เสียเลือดมาก ๆ แต่ภาวะไตวายเฉียบพลันสามารถรักษาให้ไตกลับมาทำงานปกติได้ ส่วนภาวะไตวายเรื้อรังนั้นเป็นโรคที่มีการทำลายของเนื้อไตอย่างช้า ๆ อย่างต่อเนื่อง จนไตไม่สามารถกลับมาทำงานได้อย่างปกติ

              สาเหตุที่พบบ่อยในบ้านเราก็คือ โรคเบาหวานกับโรคความดันโลหิตสูง โรคดังกล่าวถ้าได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตควบคุมได้ไม่ปกติ ทั้งสองโรคนี้ในระยะยาวจะส่งผลทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังได้ ส่วนภาวะที่พบรองลงมาได้ โรคไตอักเสบเรื้อรัง โรคนิ่วในไต หรือการใช้ยา ซึ่งมีพิษต่อไตบางอย่าง โดยเฉพาะยาแก้ปวด เรามักจะซื้อยากินเองเป็นระยะเวลานาน ส่วนอาการของโรคไตวายเรื้อรัง ในระยะแรกนั้นของเสียในเลือดอาจจะไม่อยู่ในระดับที่สูง เพราะฉะนั้นโดยทั่วไปอาจจะไม่มีอาการใด ๆ เลยก็ได้ อาจจะตรวจพบจากการตรวจสุขภาพประจำปี หรือเจาะเลือดพบว่าของเสียในเลือดขึ้นสูง บางรายอาจจะมีอาการผิดปกติ เช่น บวมบริเวณใบหน้า บริเวณหน้าตาหรือบริเวณขา ปัสสาวะผิดปกติ เช่น ลุกมาปัสสาวะบ่อย ๆ ตอนกลางคืน เมื่ออาการไตวายเรื้อรังเป็นมากขึ้นจะทำให้มีอาการที่เด่นชัดเจนขึ้น
              ถ้าผู้ป่วยทราบว่าเป็นโรคไตวายเรื้อรังแล้ว การตรวจพบในระยะแรกและให้การรักษาอย่างถูกต้องนั้น จะทำให้สามารถชะลอการเสื่อมของไตได้ ข้อควรปฏิบัติ คือ ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ที่พบบ่อย ๆ คือ คนไข้มักจะซื้อยารับประทานเอง หรือไปรักษาด้วยยาจีน ยาสมุนไพร ซึ่งปัจจัยอย่างนี้ ยาบางชนิดพบว่าส่วนผสมบางอย่างทำให้ไตนั้นเสื่อมสมรรถภาพอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นการพบแพทย์ ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการดูแลโรคไตวายเรื้อรัง


2. ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง มีวิธีการรักษาอย่างไร
              การรักษาโรคไตวายเรื้อรังแบ่งการรักษาออกเป็น 3 ระยะ คือ ในระยะเบื้องต้น หมายถึง เป็นในระยะแรกนั้น การรักษาส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาด้วยยา จุดประสงค์ด้วยการรักษาด้วยยา ไม่ใช่การรักษาให้เนื้อไตที่เสียไปแล้วกลับสภาพทำงานได้ ยาที่อายุรแพทย์โรคไตให้กับผู้ป่วยนั้น เพื่อรักษาปัจจัยต่าง ๆ ที่จะทำให้ไตนั้นเสื่อมสภาพลง เช่น  ควบคุมความดันโลหิต ตรงนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก ถ้าคนไข้มีความดันโลหิตสูง การควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติ จะสามารถชะลอไม่ให้ไตเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว การให้ยาอื่น ๆ นั้นต้องดูความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย เพราะฉะนั้นควรจะติดตามการรักษากับแพทย์และไม่ซื้อยารับประทานเองหรือเอายาของคนอื่นมารับประทาน    อาหารที่ควรจะหลีกเลี่ยงก็คือ อาหารเค็ม อาหารโปรตีนมาก ๆ ก็จะทำให้ของเสียในเลือดเพิ่มขึ้นเร็ว ปัจจุบันเรามีการรักษาหลายชนิด ที่มักจะนิยมเรียกกันว่า การล้างไต จริง ๆ การล้างไตนั้นเป็น

3. วิธีที่ปัจจุบันมีการรักษากันมาก แบ่งหลัก ๆ ได้ 2 ชนิด คือ
              - ล้างไตโดยการขจัดของเสียในเลือดออก โดยใช้น้ำยาใส่ลงไปในช่องท้อง หลักการก็คือ จะใส่น้ำยาล้างไตลงไปในช่องท้องของผู้ป่วย และของเสียที่อยู่ในกระแสเลือดก็จะซึมผ่านผนังหลอดเลือดฝอย บริเวณเยื่อบุช่องท้องออกมาในน้ำยา  แล้วจะเปลี่ยนน้ำยาที่มีของเสียนั้นออกและใส่ถุงใหม่กลับเข้าไป วันหนึ่งก็จะทำ 3 - 4 ครั้ง ของเสียก็จะสามารถขจัดออกไปได้ การรักษาวิธีนี้ดีอย่างหนึ่งก็คือ คนไข้อาจไม่ต้องอยู่ในโรงพยาบาล ในช่วงแรกที่ทำใหม่ ๆ อาจจะต้องได้รับการดูแลโดยพยาบาลหรือแพทย์ว่าจะสามารถปฏิบัติเองได้ หรือผู้ป่วยบางรายไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ก็จะเป็นญาติที่คอยเปลี่ยนน้ำยาให้ แต่ขอเน้นว่า วิธีนี้จะต้องใช้ความสะอาดมาก เพราะถ้ามีเชื้อโรค หรือล้างมือไม่สะอาดก็จะมีการติดเชื้อในช่องท้องได้ อาจจะมีอันตรายถึงชีวิต 
              - การฟอกเลือดโดยใช้เครื่องไตเทียม การฟอกเลือดโดยใช้เครื่องไตเทียม ต้องมาฟอกที่โรง
พยาบาล หลักการก็จะคล้าย ๆ กัน ก็คือ จะนำของเสียซึ่งออกจากเลือด โดยผ่านตัวกรองของเครื่องไตเทียม ตัวกรองจะมีหน้าที่กรองเอาของเสียในเลือดออก การฟอกเลือดจะต้องมาฟอกสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งหนึ่งประมาณ 4-5 ชั่วโมง ซึ่งจะเห็นได้ว่าทั้งสองวิธีมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป จะต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของอายุรแพทย์โรคไตที่จะแนะนำผู้ป่วยว่า คนไข้รายนั้นเหมาะกับการักษาวิธีใด
4.  ผู้ป่วยที่มีไตวายเรื้อรังสามารถเปลี่ยนไตได้หรือไม่
          
ปัจจุบันการรักษาโดยการเปลี่ยนไต ทางการแพทย์เรียกว่า การผ่าตัดปลูกถ่ายไตก็เป็นการรักษาโดยการนำไตของผู้ป่วยที่เสียชีวิตแล้ว ลักษณะของไตที่บริจาคโดยผู้ป่วยเสียชีวิตจากสมองตาย หรือจะเป็นไตจากผู้มีชีวิตอยู่ เช่น ญาติ พี่น้อง พ่อแม่ นำไต 1 ข้าง ของผู้บริจาคมาใส่ในผู้ป่วยที่เป็นไตวายเรื้อรัง เพื่อที่จะให้ทำหน้าที่ขับถ่ายของเสีย อย่างไรก็แล้วแต่การผ่าตัดปลูกถ่ายไตก็มีข้อจำกัด เพราะฉะนั้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง ปัจจุบันมีการผ่าตัดปลูกถ่ายไตได้ง่ายขึ้น ผู้ที่ต้องการรักษาด้วยวิธีนี้จะต้องมาขอคำปรึกษากับแพทย์ที่เชี่ยวชาญทางโรคไตก่อนว่า เหมาะสมหรือไม่ที่จะผ่าตัด
5. โรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่
           โรคไตวายเรื้อรังจะทำให้เนื้อไตนั้นเสื่อมไปแล้วแต่ก็ไม่ได้เป็นทั้งหมด จะยังมีบางส่วนที่ทำหน้าที่อยู่ได้ การรักษาโรคไตวายเรื่อรังเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด ไตที่เสื่อมสภาพไปอย่างเรื้อรังและถาวรแล้วก็จะไม่สามารถกลับมาทำงานได้อีก การรักษาดังกล่าวข้างต้น ไม่ว่าจะเป็น การล้างไต การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมล้วนแต่เป็นการรักษาที่นำเอาของเสียในเลือดออกเพื่อให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น
6. การดูแลตนเองของผู้ป่วยควรทำอย่างไร
           การดูแลตนเองของผู้ป่วย ที่อาจจะเน้นในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นไตวายในระยะต้น การดูแลตนเองที่ดีจะช่วยให้โรคไตของท่านเสื่อมสมรรถภาพอย่างช้า การพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เป็นหัวใจสำคัญ ส่วนเรื่องของอาหารเค็ม จะขึ้นอยู่กับคนไข้แต่ละคน เช่น คนไข้บางคนอาจจะรับประทานเค็มได้ คนไข้ที่มีความดันโลหิตสูง มีอาการบวมก็จะต้องงดอาหารเค็ม ถ้าท่านพบว่าเป็นโรคบางชนิดที่มีโอกาสไตวายเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง ควรควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ก็จะช่วยชะลอการเสื่อมของไตลงได้ การรับประทานอาหารโปรตีนที่น้อยลง การไม่ซื้อยารับประทานเอง จะช่วยให้ไตของท่านเสื่อมสภาพได้ช้าที่สุด

7. วิธีการป้องกันภาวะไตวายเรื้อรัง
           จริง ๆ แล้ว วิธีป้องกันถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการดูแลตนเองให้ปลอดจากโรคไต โดยเฉพาะโรคไตวายเรื้อรัง ดังนั้น ควรจะสังเกตตนเองว่าจะเริ่มเป็นโรคไตหรือไม่ อาการที่พบบ่อยของผู้ป่วยที่เริ่มจะเป็นโรคไต เช่น ท่านมีอาการปัสสาวะผิดปกติ ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นฟองมาก ปัสสาวะบ่อย หรือมีเศษกรวดหรือทรายปนออกมา ก็อาจจะพบว่ามีนิ่วอยู่ในไต มีอาการบวมผิดปกติ ตื่นขึ้นมามีอาการบวมบริเวณหน้าตาหรือมีอาการปวดหลัง ถ้าท่านไม่แน่ใจควรจะรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพราะการรักษาแต่เนิ่น ๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้โรคไตที่เป็นในระยะแรกนั้นเรื้อรังจนเกิดโรคไตวายเรื้อรัง ที่สำคัญอีกเรื่องคือ หลีกเลี่ยงการใช้ยา ซึ่งอาจจะมีผลเสียต่อไต การใช้ยาบางชนิด โดยเฉพาะยาแก้ปวดติดต่อกันนาน ๆ อาจจะทำให้เกิดโรคไตวายเรื้อรัง สำหรับท่านที่เป็นโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง อย่างที่ได้กล่าวข้างต้นว่า 2 โรคนี้ พบบ่อยว่าในระยะยาว ถ้าท่านรักษาโรคเบาหวานหรือโรความดันโลหิตสูงไม่ถูกต้อง ซื้อยารับประทานเอง หรือไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องจากแพทย์นั้น จะมีผลแทรกซ้อน ทำให้เกิดโรคไตวายเรื้อรังได้สิ่งที่อยากจะฝากไว้ก็คือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไตวายเรื้อรัง เป็นหัวใจที่สำคัญที่สุด และขอเน้นว่า โรคไตกับโรคไตวายเรื้อรัง ไม่เหมือนกัน บางคนเข้าใจว่า เมื่อเป็นโรคไตแล้ว ตนเองก็จะเป็นโรคไตวายเรื้อรัง ดังนั้นเมื่อท่านทราบว่า ท่านเป็นโรคไตก็อย่าพึ่งตกใจ สอบถามให้แน่ชัดกับแพทย์ที่ท่านรักษาด้วย ว่าท่านเป็นโรคไตชนิดใด โรคไตนั้นมีมากมากหลายชนิด บางอย่างรักษาหายขาด บางอย่างจะต้องติดตามการรักษาไปโดยตลอด ไม่จำเป็นว่าเป็นโรคไตแล้วจะเป็นไตวายเรื้อรังเสมอไป
 
8.  สรุป
               โรคไตวายเรื้อรังเกิดขึ้นจากสาเหตุใด
                      -โรคไตวาย คือ ภาวะที่ไตทำงานผิดปกติ  แบ่งออกได้ 2 ชนิด
                    
- ไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรังสาเหตุที่พบบ่อยในบ้านเราก็คือ โรคเบาหวานกับโรคความดันโลหิตสูง โรคดังกล่าวถ้าได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตควบคุมได้ไม่ปกติ ทั้งสองโรคนี้ในระยะยาวจะส่งผลทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังได้
               ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง มีวิธีการรักษาอย่างไร
 
                 
-
การรักษาโรคไตวายเรื้อรังแบ่งการรักษาออกเป็น 3 ระยะ คือ ในระยะเบื้องต้น หมายถึง เป็นในระยะแรกนั้น การรักษาส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาด้วยยา
            ปัจจุบันมีการรักษากันมาก แบ่งหลัก ๆ ได้ 2 ชนิด คือวิธีที่
                      - ล้างไตโดยการขจัดของเสียในเลือดออก
        
             - การฟอกเลือดโดยใช้เครื่องไตเทียม
            ผู้ป่วยที่มีไตวายเรื้อรังสามารถเปลี่ยนไตได้หรือไม่

                -
ปัจจุบันการรักษาโดยการเปลี่ยนไต ทางการแพทย์เรียกว่า การผ่าตัดปลูกถ่ายไตก็เป็นการรักษาโดยการนำไตของผู้ป่วยที่เสียชีวิตแล้ว ลักษณะของไตที่บริจาคโดยผู้ป่วยเสียชีวิตจากสมองตาย หรือจะเป็นไตจากผู้มีชีวิตอยู่ เช่น ญาติ พี่น้อง พ่อแม่ นำไต 1 ข้าง ของผู้บริจาคมาใส่ในผู้ป่วยที่เป็นไตวายเรื้อรัง
          โรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่
            -การรักษาโรคไตวายเรื่อรังเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด ไตที่เสื่อมสภาพไปอย่างเรื้อรังและถาวรแล้วก็จะไม่สามารถกลับมาทำงานได้อีก การรักษาดังกล่าวข้างต้น ไม่ว่าจะเป็น การล้างไต การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมล้วนแต่เป็นการรักษาที่นำเอาของเสียในเลือดออกเพื่อให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น

         การดูแลตนเองของผู้ป่วยควรทำอย่างไร
             -
การพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
             -หลีกเลี่ยง อาหารเค็ม  และ     รับประทานอาหารประเภทโปรตีนน้อยลง
       วิธีการป้องกันภาวะไตวายเรื้อรัง
            -ควรจะสังเกตตนเองว่าจะเริ่มเป็นโรคไตหรือไม่ อาการที่พบบ่อยของผู้ป่วยที่เริ่มจะเป็นโรคไต เช่น ท่านมีอาการปัสสาวะผิดปกติ ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นฟองมาก ปัสสาวะบ่อย หรือมีเศษกรวดหรือทรายปนออกมา ก็อาจจะพบว่ามีนิ่วอยู่ในไต มีอาการบวมผิดปกติ
        -หลีกเลี่ยงการใช้ยา โดยเฉพาะยาแก้ปวดติดต่อกันนาน ๆ อาจจะทำให้เกิดโรค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น