หน้าเว็บ

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ผลิตจากเส้นไหมไทยแท้ โดยการเลี้ยงไหมเอง

ผลิตจากเส้นไหมไทยแท้ โดยการเลี้ยงไหมเอ
                      กลุ่มทอผ้า ตำบลภารแอ่น ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์มาจากการทอผ้าไหมพื้นบ้าน เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการสืบทอดยาวนานมาจากบรรพบุรุษ หลังฤดูกาลทำนาที่เป็นอาชีพหลักของประชาชนในหมู่บ้าน กลุ่มแม่บ้านและผู้นำชุมชนได้ส่งเสริมอาชีพให้ประชาชนในหมู่บ้านทอผ้าไหมเพื่อสงเสริมอาชีพและเพิ่มรายได้ของประชาชน โดยจัดตั้งกลุ่มทอผ้า ตำบลภารแอ่น เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๕ มีสมาชิกเริ่มแรก ๑๔๕ คน โดยใช้สีธรรมชาติและสีเคมีเป็นวัสดุในการย้อม โดยแยกกันผลิต ต่อมากลุ่มได้มีการวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้คุณภาพให้มีความสวยงามมากขึ้น ทำให้ขายได้เพิ่มขึ้น สมาชิกกลุ่มเกิดความภาคภูมิใจและมั่นใจในผลิตภัณฑ์ของตน
                       ในปี พ.ศ.๒๕๔๕ ได้รับงบสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลภารแอ่น จำนวน ๔๕,๐๐๐ บาท เป็นทุนในการผลิตทำให้กลุ่มมีผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ กลุ่มทอผ้า ตำบลภารแอ่น ได้ไปศึกษาดูงานจังหวัดสกลนคร เรื่องวิธีการทำให้ผ้าไหมที่ทอแล้วให้อ่อนเนื้อผ้านุ่มและศึกษาดูงานกลุ่มทอผ้าที่ประสบผลสำเร็จ หลังจากนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดฝึกอบรมการทอผ้าฝ้ายให้กลุ่ม และส่งเสริมให้รวมกลุ่มกันผลิตผ้าฝ้าย แต่ผลการจำหน่ายผ้าฝ้ายขาดทุน เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูง สินค้ากลุ่มขาดคุณภาพ สีผ้าฝ้ายตก ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้สมาชิกบางคนลาออก บางคนเสียชีวิต เหลือสมาชิก ๑๔๐ คน สมาชิกกลับมาผลิตผ้าไหม โดยแยกกันผลิตแล้วส่งผลิตภัณฑ์ให้ตัวแทนกลุ่มไปจำหน่าย ทำให้การดำเนินงานของกลุ่มดีขึ้นและส่งผลิตภัณฑ์กลุ่มเข้าคัดสรร ครั้งแรก ได้ระดับ ๓ ดาว ปัจจุบัน ๔ ดาว ในการดำเนินงานของกลุ่มมี นางใจ เกมะหายุง เป็นประธาน และมีนางหนูกิน โคตรสาร เป็นเลขานุการ มีนายเชาวลิต จัทรฤทธิ์ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล นายสุพิน ปาละโค นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายสมดี เล็กอรินทร์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๓ และพัฒนาการอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยเป็นที่ปรึกษากลุ่ม องค์การบริหารส่วนตำบลภารแอ่นสนับสนุนงบประมาณสร้างอาคาร 1 หลัง
                     จากความตั้งใจของกลุ่มทอผ้า ตำบลภารแอ่น ที่จะอนุรักษ์ และฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษให้คงคุณค่าอยู่ในวิถีชีวิตตลอดไป ตลอดจนต้องการให้เกิดการพัฒนา และมีความเจริญก้าวหน้า จึงได้พยายามพัฒนากลุ่มโดยตั้งความหวังไว้ว่า จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด เพิ่มมูลค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น สมาชิกลุ่มมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีรายได้เพิ่ม


                                                                       นางสาวรสสุคนธ์ แสงทะมาตร    รหัสนิสิต 5305110022

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประเพณีบุญบั้งไฟ

                                                                                                                               นางสาวทัศรินทร์  นาวารี
                                                                                                                               คณะพยาบาลศาสตร์ ปี2
                                                                                                                               รหัสนิสิต  5395110010
                                                     ประเพณีบุญบั้งไฟ
                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                    ประเพณีบุญบั้งไฟ  เป็นอีกประเพณีหนึ่งที่มีความสำคัญของจังหวัดร้อยเอ็ดและยังเป็นหนึ่งในฮีตสิบสองของชาวอีสานอีกด้วย นิยมทำกันในเดือนหกหรือเดือนเจ็ด ซึ่งถือเป็นช่วงที่เข้าสู่การทำนา  ตกกล้า  หว่านไถ เพราะตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ชาว อีสาน มีความเชื่อว่า ถ้าปีใดไม่จัดงานบุญบั้งไฟ ฝนฟ้าก็จะไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดความแห้งแล้ง แต่ถ้าปีใดจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะตกต้องตามฤดูกาล จะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ งานบุญบั้งไฟจึงถือเป็นงานประเพณี ประจำปีที่สำคัญของชาวร้อยเอ็ด
                       งานบุญบั้งไฟ ยังมีตำนานเล่าขานสืบต่อกันมานาน จากนิทานพื้นบ้านเรื่องผาแดงนางไอ่  และเรื่องพญาคันคาก (คางคก) ล้วนแต่กล่าวถึงการจุดบั้งไฟเพื่อให้แถน(เทวดา)ได้บันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลประเพณีบุญบั้งไฟจึงถือเป็นประเพณีสำคัญที่จะละเลยไม่ได้  งานบุญบั้งไฟเป็นงานใหญ่ที่ลงทุนสูงและการจัดงานจะต้องเป็นไปตามความเห็นชอบของชุมชน  การทำบั้งไฟสมัยก่อนใช้ไม้ไผ่ลำขนาดใหญ่ที่ สุดทะลวงปล้องให้ถึงกัน  ภายนอกจะใช้ตอกไม้ไผ่ถักเป็นเชือกมัดมัดรอบลำไผ่ให้แน่นเพื่อไม่ให้ลำไผ่แตก ส่วนหัวปล้องลำสุดท้ายจะถูกอุดด้วยแผ่นไม้หนาพอสมควร  แล้วทำการบรรจุหมื่อ (ดินปืน) ให้แน่นด้วยการตำหรือคานดีดคานงัด  และเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปจากลำไม้ไผ่จึงกลายเป็นท่อเหล็กหรือท่อประปา และตอนหลังมาหันมาใช้ท่อพีวีซีแทน  และการทำบั้งไฟมีด้วยกันทั้งหมด 4 ขนาด คือ บั้งไฟร้อย  บั้งไฟหมื่น  บั้งไฟแสน  และบั้งไฟล้าน รูปแบบของงานนั้นยังแบ่งแยกออกจากกันเป็นงานใหญ่ๆสองงาน  คือ งานวันแรกชาวบ้านจากคุ้มต่างๆจำบั้งไฟของแต่ละคุ้มมาตกแต่งประดับประดาให้สวยงามและนำมาแห่โชว์ด้วยขบวนรำประกอบดนตรีพื้นเมือง  ส่วนวันที่สองของงานจะเป็นการประกวดบั้งไฟ คือการจุดบั้งไฟขึ้นสูง
                  ในช่วงที่มีการจุดบั้งไฟนั้นนับเป็นช่วงตื่นเต้นและสนุกสนานที่สุด โดยเฉพาะช่างบั้งไฟจะต้องลุ้นมากกว่าใคร เพราะหากบั้งไฟไม่ขึ้นก็จะถูกโยนลงบ่อโคลนนัยว่าเพื่อเป็นการลงโทษ แต่ปัจจุบันนั้น ไม่ว่าบั้งไฟจะขึ้นหรือไม่ขึ้นก็จะมีการโยนโคลน แต่ทำเพื่อความสนุกสนานมากกว่า
                                                                                                 http://www.panyathai.or.th
นางสาวทัศรินทร์  นาวารี

สารสนเทศผู้สูงอายุ

บทความ สารสนเทศผู้สูงอายุ
สรุปแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2552-2554(ต่อ)
มาสรุปแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2552-2554 กันต่อเลยนะขอรับต้องเร่งส่งต้นฉบับให้พี่น้องเราก่อนเดี๋ยวอ่านกันไม่ทัน
1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน
1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้าง
1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่
- แรงงานที่ว่างงานถูกเลิกจ้างและนักศึกษาจบใหม่ ประมาณ 500,000 คน ในปี 2552 ได้รับการฝึกอบรมเสริมทักษะสร้างศักยภาพและโอกาสให้กลับไปทำงานที่เป็น ประโยชน์แก่ท้องถิ่นชุมชนในภูมิลำเนา
1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง งานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ
1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ
- เพิ่มรายได้ให้กับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้ให้มีหลักประกันด้านรายได้อย่างทั่วถึง เป็นธรรม
- สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยัง ชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์รวมทั้ง ขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาท
1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง
1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานมาก
1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเป็นเครื่องมือของ รัฐให้มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร
1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน
- จัดหาตลาดรองรับสินค้าเกษตรชุมชนเชื่อมโยงตลาดในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชุมชน อำเภอ จังหวัด ประเทศ และดำเนินการในลักษณะนำร่องก่อน เน้นสินค้าที่มีคุณภาพสำหรับตลาดเฉพาะ ( Niche Market ) รวมทั้งบริหารจัดการสินค้าเกษตรอย่างเป็นระบบ โดยเน้นสินค้าอาหารและสินค้าคุณภาพ
1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ
1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารสุขประจำหมู่บ้าน ( อสม.)ทั่วประเทศให้ปฏิบัติงานเชิงรุก
1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน
1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี
- ประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานฟรี ตั้งแต่ระดับปฐมวัย จนถึงมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญและสายอาชีพครอบคลุมตำราเรียนในวิชาหลัก ชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียน และค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่นๆเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของประชาชน
1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ
1.3.3 ดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน
- ภาครัฐรับภาระค่าใช้จ่ายรถโดยสารธรรมดา รถไฟชั้น 3 ค่าน้ำประปา และค่าไฟฟ้าตามความจำเป็นขั้นพื้นฐานของประชาชน
- ปรับปรุงและขยายระยะเวลาการดำเนินมาตรการ 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน
1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ
1.3.5 จัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ( กรอ.)
นโยบายที่ 2 ความมั่นคงของรัฐ
2.1 ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
2.2 เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศให้มีความพร้อมในการรักษาเอกราช อธิปไตยและบูรณาการแห่งดินแดน
2.3 เสริมสร้างสันติภาพของการอยู่ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน
2.4 แก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบไม่ให้มีผลกระทบต่อความมั่นคง
2.5 เสริมสร้างศักยภาพในการจัดการกับปัญหาภัยคุกคามข้ามชาติ
นโยบายที่ 3 สังคมและคุณภาพชีวิต
1. ด้านการศึกษา
- ประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษา 15 ปีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสูงขึ้นอีกร้อยละ 20 ใน 3 ปี
- สัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาต่อสายสามัญ เป็น 50 : 50
- สัดส่วนของผู้เรียนสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสายสังคมเป็น 40 : 60
- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาโดยการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับ อาชีวศึกษา อุดมศึกษา และการพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม มุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา ส่งเสริมการสร้างนักวิจัยมืออาชีพและสนับสนุนการดำเนินการวิจัยในลักษณะ Research Program ในประเด็นสำคัญๆของประเทศ
3.3 นโยบายด้านสาธารณสุข
- ลดอัตราการเพิ่มการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง 5 โรค ได้แก่ โรคหัวใจ เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง
3.4 นโยบายศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
3.5 นโยบายสวัสดิการสังคม แ ละความมั่นคงของมนุษย์
3.6 นโยบายการกีฬาและนันทนาการ
- เด็กและเยาวชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ออกกำลังกาย เล่นกีฬา และร่วมกิจกรรมนันทนาการเป็นประจำ
- นักกีฬาปกติและผู้พิการ ได้ร่วมแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และจำนวนเหรียญรางวัลเพิ่มขึ้นในทุกระดับ
- พัฒนาและนำวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้อย่างจริงจังในการส่งเสริมกีฬาสู่ความ เป็นเลิศและกีฬาอาชีพให้แก่นักกีฬาปกติและผู้พิการ รวมทั้งเตรียมความพร้อมนักกีฬาไทยสู่โอลิมปิค ปี 2010
นโยบายที่ 4 เศรษฐกิจ
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศมีการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและ มั่นคง โดยการดำเนินนโยบายการเงินการคลังที่สอดประสานกันเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัว จากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลกที่กำลังประสบอยู่ขณะนี้
4.1 นโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค
- อัตราส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไม่เกินร้อยละ 50 ของ GDP
- รักษาระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ในช่วงปี 2552 – 2554
4.2 นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
4.2.1 ภาคเกษตร
- มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาเกษตรเพิ่มขึ้นเป็น 1.35 ล้านล้านบาท ในปี 2554
- เกษตรกรไม่ต่ำกว่า 1.6 ล้านราย ได้รับการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็ง
- บริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชลประทานไม่น้อยกว่า 1.7 ล้านไร่
- พัฒนา ฟื้นฟูและอนุรักษ์ดินและที่ดินไม่ต่ำกว่า 4.4 ล้านไร่
- พัฒนาระบบการผลิตและคุณภาพของผลผลิต โดยพัฒนาปรับปรุงระบบคุณภาพทั้งพืช ปศุสัตว์ และประมง ( GAP GMP HACCP ) ให้ได้ผลผลิตที่ได้มาตรฐานสากล
4.2.2 ภาคอุตสาหกรรม
- มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคอุตสาหกรรมเพิ่มจาก 3.3 ล้านล้านบาท เป็น 3.5 ล้านล้านบาท
- จำนวนผู้ประกอบการรายใหม่เพิ่มขึ้นและจำนวนผู้ประกอบการเดิมที่ได้รับการ พัฒนามีจำนวนเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 13,000 รายต่อปี
- ผลิตภาพแรงงานในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสาขาเป้าหมายสูงขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 3
- ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบต่อสังคมตามแนวทาง ISO 26000
4.2.3 ภาคการท่องเที่ยวและบริการ
- ภาพลักษณ์ประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ด้านความมีน้ำใจ ( Friendly People)/ความเป็นดั้งเดิม ( Authenticity ) / ชายหาด ( Beach )
4.2.4 นโยบายการตลาด การค้า และการลงทุน
4.3 นโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
4.4 นโยบายพลังงาน
- สัดส่วนการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศไม่เกินร้อยละ 35 ในปี 2554
- สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนไม่น้อยกว่าร้อยละ 12 ของการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นสุดท้ายในปี 2554
- นโยบายด้านพลังงานทดแทนเป็นวาระแห่งชาติ
- ส่งเสริมกลไกการพัฒนาที่สะอาด ( CDM ) สาขาพลังงาน เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
4.5 นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- จำนวนเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐานต่อประชากร 100คน เพิ่มขึ้นจาก 11 เป็น 13.7 เลขหมาย
- จำนวนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วเพิ่มขึ้นจาก 2 ล้าน รายเป็น 4 ล้านราย
- จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อประชากร 100 คน เพิ่มขึ้นจาก 78 เป็น 90 เลขหมาย
- ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้งานระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 45
- จำนวนชุมชน ไม่น้อยกว่า 800 แห่งมีศูนย์การเรียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- ติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะประจำหมู่บ้านจำนวนไม่น้อยกว่า 1,300 เลขหมาย
- กลุ่มผู้ด้อยโอกาส สามารถเข้าถึง ICT และนำ ICT มาใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้ในการเรียนรู้และประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
- บุคลากรด้าน ICT ได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐานวิชาชีพไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
- บุคลากรภาครัฐไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 สามารถเข้าถึงและนำ ICT มาใช้ประโยชน์ในการทำงานและการเรียนรู้
- ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จาก ICT ในชีวิตประจำวัน
- อัตราการเติบโตอุตสาหกรรมดิจิตอลคอนเท้นส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ต่อปี
นโยบายที่ 5 ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.1 คุ้มครองและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรธรณี ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งฟื้นฟูอุทยานทางทะเลอย่างเป็นระบบ
- พัฒนาฟื้นฟูและอนุรักษ์ดิน 60 ล้านไร่
5.2 คุ้มครองและฟื้นฟูพื้นที่อนุรักษ์ที่มีความสำคัญเชิงระบบนิเวศ เพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
5.3 จัดให้มีระบบการป้องกัน รวมทั้งเตือนภัยและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยธรรมชาติ
5.4 ควบคุมและลดปริมาณของเสียที่กลายมาเป็นมลพิษทั้งในรูปขยะ ขยะอันตรายมลพิษทางอากาศ กลิ่นเสียง และน้ำเสีย
5.5 พัฒนาองค์ความรู้ในการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.6 ปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์
นโยบายที่ 6 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม
6.1 ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการวิจัยตามแนวพระราชดำริ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งงานวิจัยขั้นพื้นฐาน และงานวิจัยประยุกต์
- จำนวนผลงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมที่สามารถนำไปยื่นขอจดสิทธิบัตรไม่น้อยกว่า 450 เรื่อง
6.2 เร่งรัดผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและบุคลากรด้านการวิจัยให้สามารถตอบสนองความต้องการของภาคการผลิต
- บุคลากรวิจัยและพัฒนา 10 คนต่อประชากร 10,000 คน
6.3 ปฏิรูประบบการวิจัยและพัฒนาของประเทศ
นโยบายที่ 7 การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
นโยบายที่ 8 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
8.1 ประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน
- ประชากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการและการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่น
- หน่วยงานของรัฐไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 สามารถยกระดับคุณภาพ มาตรฐานและธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการได้ตามเป้าหมาย
- บุคลากรภาครัฐไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีความเป็นมืออาชีพ มีความรู้คู่คุณธรรม
จบแล้วขอรับสำหรับแผนการบริหารราชการแผนดิน พ.ศ.2552-2554 แล้ววันพรุ่งนี้มาอ่านเรื่องต่อไปกันนะ
เขียนโดย ครูสุโขทัย ที่ 8:38




Title: 
การศึกษาสถานดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในประเทศไทย
Authors: 
ศิริพันธุ์ สาสัตย์
ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์
เตือนใจ ภักดีพรหม
เพ็ญจันทร์ เลิศรัตน์
ผ่องพรรณ อรุณแสง
Author's Email: 
sisasat@gmail.com
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: 
ผู้สูงอายุ--การดูแล
ผู้สูงอายุ--ไทย--การสำรวจ
ผู้สูงอายุ
การบริการสาธารณสุข
Issue Date: 
28-Feb-2552
Publisher: 
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย

http://dspace.hsri.or.th    7.26 20 01 2555
Title: 
ประสิทธิผลโปรแกรมการเรียนรู้สร้างสุขภาพด้วยตนเองในกลุ่มผู้สูงอายุ อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: 
Effectiveness of the Self-care Health Promotion Program for the Elderly in Khamsakaesang District, Nakhon Ratchasima Province
Authors: 
ไพโรจน์ ช่างประหยัด
ปรารถนา เฟื่องทรัพย์
Author's Email: 
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Issue Date: 
2551
Publisher: 
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
Citation: 
วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2,3 (ก.ค.-ก.ย. 2551), 6(ก.ค.-ก.ย. 2551) : 1369-1375
Other Titles: 
Community Care Model for Older People in Thailand
Authors: 
สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์
Samrit Srithamrongsawat
กนิษฐา บุญธรรมเจริญ
Kanitta Bundhamcharoen
ศิริพันธุ์ สาสัตย์
Siriphan Sasat
ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ
Kwanjai Amnatsatsue
Author's Email: 
samrit@health.moph.go.th, samrit@hisro.or.th
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: 
ผู้สูงอายุ
Issue Date: 
Jun-2552
Publisher: 
สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน
Citation: 
วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว 1,2(มี.ค.-มิ.ย.2552) : 22-31



ฐานข้อมูลสารสนเทศผู้สูงอายุ

ฐานข้อมูลสารสนเทศผู้สูงอายุ

ฐานข้อมูลสารสนเทศผู้สูงอายุ เป็นฐานข้อมูลที่จำเป็นฐานหนึ่ง สำหรับการให้บริการในห้องสมุด ซึ่งควรพัฒนารูปแบบการให้บริการ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์ในการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศผู้สูงอายุ
  1. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ศึกษาหาความรู้จากระบบสารสนเทศที่เหมาะสม
  2. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความสะดวกจากการสืบค้นสารสนเทศ
  3. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้ด้วยตนเอง
  4. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับสารสนเทศตรงตามความต้องการ
  5. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี
การดำเนินงานประการแรกควรศึกษาหาความรู้ และเข้าใจเรื่องราวเกี่ยวกับผู้สูงอายุ    เพื่อประสิทธิภาพในการออกแบบฐานข้อมูลให้มีความสอดคล้องกับผู้สูงอายุ ทั้งด้าน รูปแบบ และสารสนเทศ
การดำเนินงานประการที่ 2  ศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ
                    สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ข้อเท็จจริง ที่ผ่านการประมวลผล ทั้งความคิด ประสบการณ์ รวมถึงจินตนาการของมนุษย์ที่มีการจัดการบันทึกลงในสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ในการสื่อสารและการตัดสินใจ
                    ระบบสารสนเทศ เป็นระบบพื้นฐานของการทำงานต่างๆ ในรูปแบบของการเก็บ input การจัดการ Processing การเผยแพร่ Output และมีส่วนเก็บข้อมูล Storage ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลสารสนเทศ การจัดการสารสนเทศ
                    การเข้าถึงสารสนเทศ หมายถึงวิธีการที่ผู้ใช้สามารถสืบค้น และได้รับสารสนเทศที่ต้องการ โดยใช้เครื่องมือช่วยค้นต่างๆ จำแนกเป็นการเข้าถึงสารสนเทศจากทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด และทรัพยากรสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ต
                    สื่อมัลติมีเดีย หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์แสดงผลในลักษณะผสมสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกัน โดยเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้เห็นได้เลือกและรับฟังข้อมูลข่าวสารผ่าน จอคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลข่าวสารต่างๆ จะรวมรูปแบบของตัวอักษร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดิโอ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถตอบโต้ และมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อโดยตรงได้
ปัญหาและอุปสรรคของผู้สูงอายุในการเข้าถึงสารสนเทศ
  1. การมองเห็น (Vision) จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน เมื่ออายุเกิน 60 ปี ขึ้นไปแล้ว
  2. การได้ยิน (Hearing) ความสามารถที่จะได้ยินเสียงสูงจะค่อยๆ ลดลง เมื่ออายุ 65 ปี ขึ้นไป
  3. ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) ความสับสนยุ่งเหยิงอันเนื่องมากจากความเสื่อมของระบบประสาท ความจำลดลง
  4. การควบคุมบังคับระบบร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ควบคุมได้ลดน้อยลงในผู้สูงอายุ
  5. การควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Regulation) ความสามารถของผู้สูงอายุในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิจะลดลง หากห้องสมุดติดตั้งเครื่องปรับ อากาศ
  6. ขาดทักษะการพิมพ์ การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
ระบบสารสนเทศที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ : ฐานข้อมูลสารสนเทศผู้สูงอายุ
                    การจัดการสารสนเทศห้องสมุด  โดยเปิดเว็บไซต์เพื่อผู้สูงอายุ พร้อมพัฒนาระบบให้ง่ายต่อการใช้งาน เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์รอบด้าน โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางการสื่อสารระหว่างผู้สูงอายุและ บุคคล ทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งเว็บดังกล่าวได้จัดทำฐานข้อมูลด้านความรู้ สุขภาพ วิชาชีพ บันเทิง จริยธรรม และนวัตกรรมเทคโนโลยี ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านกระดานสนทนา เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน โดยเว็บไซต์ดังกล่าวได้รับการปรับปรุงให้มีความทันสมัย เพิ่มเสียงอธิบายรายละเอียดและวิธีการใช้งานแทนการอ่าน พร้อมปรับขนาดตัวอักษรให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานของผู้สูงอายุ รวมถึงจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตแก่ผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นการส่งเสริม และสนับสนุนให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุข ทั้งช่วยทำให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าในตัวเอง และมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ
การดำเนินงานประการที่ 3 การออกแบบฐานข้อมูลสารสนเทศผู้สูงอายุ
                    การออกแบบที่เป็นสากล (Universal Design : UD) คือ การออกแบบทุกอย่างให้ใช้งานง่าย และเข้าใจง่ายสำหรับทุกคน ไม่ ว่าจะเป็นคนเพศไหน วัยไหน หนุ่ม สาว เด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือใครก็ใช้ได้ง่าย ดูแล้วเข้าใจไม่ต้องไปเปิดคู่มือการใช้กันอีก ส่วนหนึ่งเพราะสังคมกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในความเป็นจริงก็มีหลายๆ อย่างที่ทำได้ยาก แต่ก็พยายามออกแบบให้เข้าใจและใช้งานง่ายสุด ตัวอย่าง Universal Design
1.  เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ออกแบบให้ใช้งานง่ายขึ้น เช่น โทรทัศน์มีที่เสียบพวก Memory Card  เมื่อถ่ายรูปหรือถ่ายวีดิโอแล้วสามารถนำมาใช้งานกับเครื่องรับโทรทัศน์    ได้เลย
2.  ระบบการป้อนข้อมูลแบบใหม่ โดยใช้เสียง ไม่ต้องใช้ทั้งเม้าส์ หรือคีย์บอร์ด เพื่อให้คนพิการหรือผู้สูงอายุ และคนที่พิมพ์สัมผัสไม่ได้สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้
3.  การขึ้นตัวหนังสือในรายการโทรทัศน์ สำหรับคนที่หูหนวก หรือหูไม่ดี จะได้ดูรายการโทรทัศน์ ข่าวรู้เรื่อง
หลักเกณฑ์ของ Universal Design มี 7 ประการ ได้แก่
  1. เสมอภาค (Equitable Use) ใช้งานได้กับทุกคนในสังคมอย่างเท่าเทียมกันไม่มีการแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติ เช่น การติดตั้งตู้โทรศัพท์สาธารณะสองระดับ ระดับทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ หรือคนที่นั่งรถเข็นใช้ได้
  2. ยืดหยุ่น (Flexibility in Use) ใช้งานได้กับผู้ที่ถนัดซ้าย และขวาหรือปรับสภาพความสูงต่ำขึ้นลงได้ตามความสูงของผู้ใช้
  3. เรียบง่ายและเข้าใจได้ดี (Simple and Intuitive) เช่น มีภาพหรือคำอธิบายที่เรียบง่าย สำหรับคนทุกประเภทไม่ว่าจะมีความรู้ระดับไหน อ่านหนังสือออกหรือไม่ อ่านภาษาต่างประเทศได้หรือไม่ หรืออาจใช้รูปภาพเป็นสัญลักษณ์สากล สื่อสารให้เข้าใจได้ง่ายๆ ฯลฯ
  4. มีข้อมูลเพียงพอ (Perceptible Information) มีข้อมูลง่ายสำหรับประกอบการใช้งานที่พอเพียง
  5. ทนทานต่อการใช้งานที่ผิดพลาด (Tolerance for error) เช่น มีระบบป้องกันอันตรายหากมีการใช้ผิดพลาด รวมทั้งไม่เสียหายได้โดยง่าย
  6. ทุ่นแรงกาย (Low Physical Offort) สะดวดและไม่ต้องออกแรง
  7. ขนาด และสถานที่ที่เหมาะสม และใช้งานในเชิงปฏิบัติได้ (Size and space for approachhand use) โดยคิดออกแบบเผื่อสำหรับคนร่างกายใหญ่โต คนที่เคลื่อนไหวร่างกายยาก คนพิการ คนสูงอายุ
สรุป
           ฐานข้อมูลสารสนเทศผู้สูงอายุ เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับผู้สูงอายุ ที่มีช่วงอายุตั้งแต่ 60-70 ปี โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต นำเสนอในรูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ และสื่อมัลติมีเดีย โดยยึดหลักการออกแบบสากล 7 ประการ เพื่อให้เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุศึกษาหาความรู้ ได้รับความสะดวกจากการสืบค้นสารสนเทศ สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ตรงตามความต้องการ เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ทั้งรูปแบบออนไลน์ และใช้บริการจากห้องสมุด เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่า
แหล่งอ้างอิง
กิตติ  ภักดีวัฒนะกุล, จำลอง ครูอุตสาหะ. (2521).  คัมภีร์ระบบฐานข้อมูล. กรุงเทพฯ : ดวงกมลสมัย.
http://janvee.wordpress.com  12.13    20 01 2555

08.30.2011
การวิเคราะห์สารสนเทศงานวิจัย ด้านสังคมผู้สูงอายุ
             การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นประเด็นที่กำลัง ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และนักวิชาการ เพราะมีผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งในระดับมหภาค ได้แก่ ผลต่อผลผลิตรวมของประเทศ (GDP) รายได้ต่อหัวของประชากร การออม และการลงทุน งบประมาณของรัฐ และในระดับจุลภาค ได้แก่ ผลต่อตลาดผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆ โดยเฉพาะด้านการเงินและสุขภาพ การเตรียมความพร้อมเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ต้องเริ่มตั้งแต่บัดนี้ เพราะมาตรการเกือบทุกอย่างต้องใช้เวลาในการดำเนินการทั้งสิ้น
             สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยได้ศึกษา ผลกระทบของสังคมผู้สูงอายุต่อระบบเศรษฐกิจไทย สรุปได้ดังนี้  ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) โดยมีสัดส่วนของประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปต่อประชากรทั้งประเทศ มากกว่าร้อยละ 10 มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 และในอีกแค่ 20 ปีข้างหน้าสัดส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25 ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยผลของการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรย่อมจะมีผลกระทบทั้งในแง่ เศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และพบว่าภาระความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมผู้สูงอายุซึ่งวัดจากสัด ส่วนของผู้สูงอายุนั้น ประเทศไทยเป็นรองก็แต่เพียงประเทศสิงคโปร์เท่านั้น
                ผลกระทบของสังคมผู้สูงอายุต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย มีประเด็นหลัก 3 ประเด็น คือ
          1. สถานการณ์ด้านประชากรของประเทศ  จะเห็นได้ว่าโครงสร้างอายุประชากรของประเทศไทยได้เปลี่ยนจากเดิมที่เป็นรูป ทรงคล้ายพีระมิดฐานกว้าง  มาเป็นรูปคล้ายหกเหลี่ยม เพราะปัจจุบันมีสัดส่วนประชากรวัยกลางคนค่อนข้างสูง สาเหตุเนื่องจากอัตราการเกิดลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้อัตราเจริญพันธุ์ต่ำกว่าระดับทดแทน  ขณะที่อัตราการเสียชีวิตลดลงเพราะการพัฒนาทางสาธารณสุขที่ดีขึ้น ทำให้แนวโน้มประชากรมีอายุยืนขึ้น ส่งผลให้ในอีก 20 ปีข้างหน้า ประมาณหนึ่งในสี่ของประชากรทั้งประเทศหรือคิดเป็น 17.7 ล้านคนจะเป็นประชากรสูงวัยที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
            การที่ประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราการเกิดทดแทนลดลง ทำให้สัดส่วนของผู้ที่อยู่นอกวัยทำงานต่อจำนวนประชากรที่อยู่ในวัย 15-59 ปี หรือเรียกว่า อัตราการพึ่งพิงของประชากรโดยรวมเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 32.4 ในปี พ.ศ. 2553 เป็นร้อยละ 38.6 ในปี พ.ศ. 2573 หรือเท่ากับ ในปี พ.ศ. 2573 จะมีผู้สูงอายุ(ที่ไม่ได้ทำงาน) ต่อประชากรวัยทำงาน ในสัดส่วน 1:4 คน ขณะที่ปัจจุบันมีสัดส่วน 1:10
            หากดูตามโครงสร้างอายุของประชากรนี้จะพบว่าอีกไม่ถึง 10 ปีข้างหน้าจำนวนประชากรไทยในวัยแรงงานจะลดลง โดยสัดส่วนของประชากรวัยแรงงานต่อจำนวนประชากรทั้งหมดในปี พ.ศ. 2573 จะลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 61.4 จากปัจจุบันที่ร้อยละ 67.6
          2. ผลต่อเศรษฐกิจในเชิงมหภาค ประชากรในประทศที่มีอัตราการเกิดต่ำมีผลต่อการ เติบโตของรายได้ประชาชาติ (GDP) โดยจะทำให้ GDP ต่อหัวของคนในประเทศเพิ่มขึ้น  ซึ่งจะส่งผลทางลบต่อแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพราะภาวะการขาดแคลนแรงงานทำให้ค่าแรงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นและก่อให้เกิด แรงกดดันด้านเงินเฟ้อได้
             ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมผู้สูงอายุกับระดับการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคครัวเรื่องขึ้นอยู่กับรายได้ของบุคคลเป็นหลัก สังคมที่ผู้สูงอายุมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพและมีฐานะยากจนเช่นประเทศไทย การบริโภคของประเทศก็มีแนวโน้มชะลอตัวลง
             
ด้านรูปแบบการใช้จ่ายก็แตกต่างจากประชากรวัยทำงาน ที่บริโภคสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสังคมและการทำงาน เช่น การรับประทานอาหารนอกบ้าน เสื้อผ้ารองเท้า ก็จะเปลี่ยนเป็นการใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพและการรักษาพยาบาล ซึ่งอุปสงค์ต่อสินค้าที่เปลี่ยนไปตามภาวะสังคมผู้สูงอายุจะส่งผลต่อการผลิต และการค้าของประเทศด้วย
             ด้านการออมและการลงทุน ในประเทศจะลดต่ำลง เนื่องจากกลุ่มประชากรที่เกษียณหรือเลิกทำงานแล้วมีค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ เงินสะสม ทำให้ระดับการออมภาคครัวเรือนและการลงทุนของประเทศได้รับผลกระทบ ด้านการคลังซึ่งเกี่ยวข้องกับรายรับรายจ่ายของภาครัฐ สังคมที่มีจำนวนประชากรพ้นวัยทำงานและเข้าสู่วัยชรามากขึ้นจะทำให้ฐานภาษี ของประเทศแคบลง ส่งผลต่อการจัดเก็บภาษีเงินได้ของภาครัฐ ขณะที่ในสังคมผู้สูงอายุรัฐต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้าน สุขภาพและการรักษาพยาบาล
          3. ผลกระทบต่อแรงงานและภาคการผลิตของประเทศ สังคมผู้สูงอายุมีผลต่อภาคการผลิตของประเทศ 2 ทาง คือ
              ด้านอุปสงค์ เนื่องจากรูปแบบการบริโภคของผู้สูงอายุแตกต่างจากวัยทำงาน ทำให้เกิดความต้องการบริโภคสินค้าที่แตกต่างออกไป
              ด้านอุปทาน  สังคมผู้สูงอายุอาจนำไปสู่ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต เนื่องจากอัตราการเกิดต่ำ ทำให้กำลังแรงงานในอนาคตลดลง โดยเฉพาะในภาคการเกษตร ภาคการค้า และบริการ
              ภาวะขาดแคลนแรงงานและแนวโน้มค่าแรงที่สูงขึ้น ทำให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องใช้แรงงานเข้มข้น สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน
             สอดคล้องกับไพโรจน์ วงศ์วุฒิวัฒน์ (2551) ซึ่งได้วิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในประเด็นต่างๆ ดังนี้
             ผลกระทบต่อผลผลิตรวมของประเทศ การที่จำนวนประชากรในวัยทำงานลดลง ส่งผลให้ผลผลิตรวมของประเทศลดลง จากจะคงผลผลิตรวมของประเทศไว้จะต้องเพิ่มผลิตภาพของแรงงานให้สูงขึ้น หรือเพิ่มปัจจัยการผลิตต่างๆ เช่นการใช้เครื่องจักร หรือแรงงานต่างด้าว
  • ผลกระทบต่อการออม การที่แรงงานต้องรับภาระเลี้ยงดูผู้สูงมากขึ้น ทำให้สัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้เพิ่มขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อการออมในระดับครัวเรือน ที่อาจทำให้การออมระดับประเทศลดลง อีกทั้งผู้เกษียณอายุไม่มีรายได้และต้องนำเงินออมออกมาใช้จ่ายอีกด้วย
  • ผลกระทบต่อการลงทุน เมื่อประเทศเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุ ความต้องการลงทุนของประชาชนจะลดลงไปพร้อมกับการออม และรัฐต้องจัดการลงทุนของประเทศ โดยเฉพาะในการจัดบริการทางสังคมด้านต่างๆต้องสอดคล้องกับขนาดและความต้องการ ของประชากรที่มีความหากหลายในแต่ละกลุ่มวัย เช่น การศึกษา ต้องมีการปรับขนาดและประเภทของสถานศึกษา ด้านสุขภาพผู้สูงอายุจะต้อมีการลงทุนเพิ่มขึ้นไปพร้อมกับการจัดสวัสดิการและ ระบบการดูแลผู้สูงอายุที่ยากไร้
  • ผลกระทบต่องบประมาณและการคลังของประเทศ การก้าวเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยส่งผลกระทบต่อรายจ่ายของ ประเทศในหลายด้าน เช่น รายจ่ายด้านสุขภาพมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รายจ่ายสวัสดิการข้าราชการ และรายจ่ายของสำนักงานประกันสังคมก็สูงขึ้นด้วย
  • ผลกระทบต่อผลิตภาพของแรงงานและการจ้างงาน การเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุทำให้ผลิตภาพของแรงงานโดยเฉลี่ยลดลง เพราะสมรรถนะที่ลดลงของร่างกาย ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
             จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของไทยในการเข้าสู่สังคมผู้สูง อายุ จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในหลายๆด้าน ทั้งการบริโภค การออมและการลงทุน การคลังของประเทศ ไปจนถึงภาคการผลิตที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการลดลงของกำลังแรงงงานและการ เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของอุปสงค์ในประเทศ ทำให้ภาครัฐควรต้องมีการวางแผนนโยบายอุตสาหกรรมและการลงทุนที่สอดคล้องกับ โครงสร้างประชาการที่กำลังเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการเตรียมรองรับด้านสวัสดิการและทางสังคม เช่น การสร้างหลักประกันด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล การดูแลระยะยาวและปัญหาการขาดผู้ดูแล หลักประกันรายได้หรือการออมเพื่อวัยหลังเกษียณ การมีงานทำของผู้สูงอายุ และการสร้างเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน        
             ด้านงานวิจัยของประเทศไทยเพื่อเตรียมความพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุนั้น สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้จัดทำกรอบงานวิจัย 15 กลุ่มเร่งด่วนที่สอดคล้องกับนโยบายยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2555-2559) เพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญเร่งด่วนของประเทศอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยหัวข้อสังคมผู้สูงอายุเป็นหัวข้อหนึ่งใน 15 กลุ่มวิจัยดังกล่าว และกำหนดกรอบการวิจัย 2 ด้านคือ
  • ด้านผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับผู้สูงอายุ ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุในบริบทของสังคมไทย ในมิติสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีสุขภาพ อาหาร ระบบการเฝ้าระวัง ระบบบริการและผลกระทบการเปิดการค้าเสรีต่อผลิตภัณฑ์ การบริการและดูแลผู้สูงอายุ
  • ด้านการเพิ่มโอกาส/ศักยภาพทางสังคมให้ผู้สูงอายุ ในกลุ่มผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้ กลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องการความช่วยเหลือ และผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เพื่อให้มีสุขภาพ/คุณภาพชีวิตที่ดี และมีโอกาสทำงานตามศักยภาพและความต้องการในประเด็น
    • การบริการสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ(ทั้งกายและใจ) และการดูแลระยะยาวในสังคมผู้สูงอายุ
    • การให้การศึกษาตลอดชีวิต การเสริมทักษะความรู้
    • การจัดการและการเข้าถึงทรัพยากร
    • การธำรงซึ่งความเป็นไทย
    • กลไกการจัดสวัสดิการในสังคม
    • การขยายโอกาสการทำงานให้ผู้สูงอายุ
             เพื่อให้ได้งานวิจัยที่ตอบสนองนโยบาย ตอบสนองต่อระบบ (ภาครัฐและเอกชน) ระดับปฏิบัติ (ท้องถิ่น) ในประเด็นต่างๆ ทั้งการจัดสรรทรัพยากรจากรัฐ เอกชนและท้องถิ่น ประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ และการให้บริการที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุกลุ่มต่างๆ
             การวิเคราะห์สารสนเทศงานวิจัยด้านผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์เพื่อจับประเด็นงานวิจัยเกี่ยวกับผู้สูงอายุ เพื่อการเตรียมความพร้อมสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุ โดยใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลระดับนานาชาติ เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนางานวิจัยที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศที่เข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุแล้ว เช่น ประเทศญี่ปุ่น และเทียบกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อสรุปเป็นช่องทางในการพัฒนางานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ตอบ สนองนโยบายของประเทศในการเตรียมความพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุต่อไป ส่วนการวิเคราะห์สารสนเทศงานวิจัยผู้สูงอายุในระดับประเทศนั้น รศ.ดร.เพ็ญณี แนรอท ได้รับทุนวิจัยโครงการสังเคราะห์ผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับปัญหาจำเป็นหรือ เร่งด่วนของประเทศ: สังคมผู้สูงอายุจากสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติปีงบประมาณ 2553 และอยู่ระหว่างดำเนินการ
             การวิเคราะห์สารสนเทศงานวิจัยในระดับนานาชาติ โดยการสืบค้นสารสนเทศงานวิจัยที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุจากฐานข้อมูล SCOPUS (เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2554) ปรากฏว่ามีงานวิจัยที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุจำนวน 1,018 เรื่อง  พบว่างานวิจัยดังกล่าวแบ่งเป็นสาขาทั้งสิ้น 27 สาขาวิชา และมีจำนวนต่างๆกันดังนี้ (ตารางที่ 1) ลำดับ 1 สาขา Medicine จำนวน 542 เรื่อง, ลำดับที่ 2  Engineering 167 เรื่อง, ลำดับที่ 3 Social Science จำนวน 151 เรื่อง, ลำดับที่4 Computer science จำนวน 115 เรื่อง, ลำดับที่ 5 Biochemistry, Genetics and Molecular Biology จำนวน 113 เรื่อง, ลำดับที่ 6 Nursing จำนวน 75 เรื่อง, ลำดับที่ 7 Pharmacology, Toxicology and Pharmaceutics จำนวน 34 เรื่อง, ลำดับที่ 8 Health Professions จำนวน 27 เรื่อง, ลำดับที่ 9 Psychology จำนวน 24 เรื่อง, ลำดับที่ 10 Environmental Science จำนวน 24 เรื่อง จะเห็นได้ว่างานวิจัยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ทั้งในด้านการแพทย์ การพยาบาล เภสัชวิทยา ผู้ดูแล ด้านสังคมความเป็นอยู่ และที่น่าสนใจคือด้านคอมพิวเตอร์
                                      ตารางานที่ 1 จำนวนงานวิจัยด้านสังคมผู้สูงอายุในสาขาวิชาต่างๆ (Subject Area)
Subject Area
# Articles
Subject Area

# Articles
1. Medicine
542
15.  Mathematics
18
2. Engineering 
167
16.  Materials Science
13
3. Social Sciences
151
17.  Physics and Astronomy
12
4. Computer Science
115
18.  Neuroscience
11
5. Biochemistry, Genetics and Molecular Biology
113
19.  Arts and Humanities
10
6. Nursing
75
20.  Agricultural and Biological Sciences
10
7. Pharmacology, Toxicology and Pharmaceutics
34
21.  Energy
7
8. Health Professions
27
22.  Decision Sciences
6
9. Psychology
24
23.  Chemistry
6
10. Environmental Science
24
24.  Dentistry
5
11. Economics, Econometrics and Finance
24
25.  Immunology and Microbiology
5
12. Earth and Planetary Sciences
20
26.  Multidisciplinary
1
13. Chemical Engineering
19
27.  Undefined
42
14. Business, Management and Accounting
19


                                    ที่มา: http://www.scopus.com/home.url
             ทำการวิเคราะห์จำนวนผลงานวิจัยแต่ละปีพบว่างานวิจัยด้านผู้สูงอายุมีเพิ่ม ขึ้นเรื่อยๆจากปี ค.ศ. 1992 เป็นต้นมา และปี ค.ศ. 2006 มีงานวิจัยด้านผู้สูงอายุถึง 96 เรื่อง และเพิ่มเป็น 124 เรื่องในปี ค.ศ. 2010 (ตารางที่ 2)
                                               ตารางที่ 2 จำนวนงานวิจัยด้านสังคมผู้สูงอายุที่ตีพิมพ์ช่วงปี ค.ศ. 1992-2011
Year

# Articles
Year
# Articles
2011
49
2001
32
2010
124
2000
32
2009
111
1999
22
2008
86
1998
18
2007
76
1997
20
2006
96
1996
28
2005
50
1995
10
2004
30
1994
17
2003
31
1993
19
2002
21
1992
12
                                                  ที่มา: http://www.scopus.com/home.url
             เมื่อเปรียบเทียบจำนวนผลงานวิจัยในแต่ละสาขาในแต่ละปี พบว่า 6 สาขา คือ Medicine, Engineering, Social science, Computer science, Biochemistry, Genetic and Molecular biology,  and Nursing มีผลงานวิจัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี  ขณะที่สาขาอื่นๆมีผลงานวิจัยเพิ่มขึ้นไม่มากนัก (ตารางที่ 3)
                                   ตารางที่ 3 จำนวนงานวิจัยในแต่ละสาขาที่ตีพิมพ์ในช่วงปี ค.ศ. 2002-2011
Subjects

# Articles / year
2011

2010
2009
2008
2007
2006
2005
2004
2003
2002
1. Medicine
33
61
59
38
35
47
16
14
19
10
2. Engineering
9
27
27
21
15
19
13
5
2
2
3. Social Science
12
15
7
14
14
14
10
4
6
4
4. Computer Science
9
28
28
18
11
14
2
-
1
-
5. Biochemistry, Genetics and Molecular Biology
6
13
17
11
10
7
1
3
8
6
6. Nursing
5
13
12
8
6
5
2
1
3
2
7. Pharmacology, Toxicology and Pharmaceutics
3
3
2
2
4
11
-
1
-
2
8. Health Professions
3
2
4
6
1
1
1
1
1
2
9. Psychology
4
5
2
1
2
2
1
-
1
-
10. Environmental Science
1
1
2
3
1
2
-
-
-
-
11.Economics, Econometrics and Finance
3
7
-
-
1
3
1
-
-
1
12. Earth and Planetary Sciences
1
-
-
2
1
2
2
-
-
-
13. Chemical Engineering
1
2
3
2
5
3
1
-
-
-
14. Business, Management and Accounting
2
4
4
-
4
1
1
2
-
1
15.  Mathematics
3
2
5
-
4
3
2
-
-
-
16.  Materials Science
2
2
4
1
-
3
1
-
-
-
17.  Physics and Astronomy
2
4
1
2
-
-
1
-
1
-
18.  Neuroscience
3
2
1
-
2
1
-
1
1
-
19.  Arts and Humanities
1
2
-
4
-
3
-
1
-
-
20.  Agricultural and Biological Sciences
1
-
1
3
1
1
-
1
-
-
21.  Energy
1
-
1
1
1
-
1
-
1
-
22.  Decision Sciences
1
2
2
-
1
-
1
-
-
-
23.  Chemistry
1
1
-
2
1
1
-
-
-
-
24.  Dentistry
1
-
2
-
-
-
1
-
-
-
25.  Immunology and Microbiology
1
-
2
1
1
-
-
-
-
-
26.  Multidisciplinary
1
-
-
-
-
-
-
-
-
-
27.  Undefined
2
-
-
-
-
5
7
2
2
5
                                 ที่มา: http://www.scopus.com/home.url
             การวิเคราะห์หน่วยงานของผู้วิจัย พบว่าผลงานส่วนใหญ่มาจากประเทศที่เข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุแล้ว เช่น ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา เช่น Universityof Tokyo, WasedaUniversity, The Johns Hopkins School of Medicine เป็นต้น  (ตารางที่ 4)
                                   ตารางที่ 4 จำนวนงานวิจัยด้านผู้สูงอายุของแต่ละหน่วยงาน (Affiliations)
Affiliations

# Articles
Affiliations
# Articles
Universityof Tokyo
24
Tokyo Institute of Technology
5
WasedaUniversity
15
University of Electro-Communications
5
KeioUniversity
12
KinkiUniversity
4
OsakaUniversity
10
IEEE
4
NationalTaiwanUniversity
8
NagoyaUniversity
4
TokyoMedical and DentalUniversity
7
ChineseUniversityof Hong Kong
4
The JohnsHopkinsSchoolof Medicine
6
ToyohashiUniversityof Technology
4
Hitachi, Ltd.
6
TokyoUniversityof Agriculture and Technology
4
Universität Mannheim
6
Kanazawa Institute of Technology
4
Universityof WashingtonSeattle
6
University of Missouri-Kansas City
4
HiroshimaUniversity
6
The Universityof British Columbia
4
Electronics Telecommunication Research Institute
5
KyotoUniversity
4
TokaiUniversity
5
SeoulNationalUniversity
4
NorthChinaUniversityof Technology
5
Universityof Pittsburgh
4
Universität Heidelberg
5
Riken
4
InternationalMedicalCenterof Japan
5
NipponMedicalSchool
4
Universityof California, San Francisco
5
ChangGungUniversity
4
National Institute of Advanced Industrial Science and Technology
5
KanazawaUniversity
4
ShowaUniversity
5
Nara Institute of Science and Technology
4
HokkaidoUniversitySchoolof Medicine
5
UC Berkeley
4
                                  ที่มา: http://www.scopus.com/home.url
             ทำการสืบค้นฐานข้อมูลรายงานวิจัย/วิทยานิพนธ์/หนังสือทั่ว ไป ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (ข้อมูลเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2554) พบว่ามีจำนวน 1362 รายการ พบว่าส่วนใหญ่เป็นงานด้านการบริการสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ การให้การศึกษาตลอดชีวิต การเสริมทักษะ/ความรู้ (รอผลการวิเคราะห์โดยละเอียดจากโครงการสังเคราะห์ผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับปัญหาจำเป็นหรือเร่งด่วนของ ประเทศ: สังคมผู้สูงอายุโดย รศ. ดร.เพ็ญณี แนรอท)
             ด้านผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ได้ ดำเนินการมาแล้ว ที่สืบค้นจากฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อนำมาวิเคราะห์โดยใช้กรอบงานวิจัยที่กำหนดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัย แห่งชาติ เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย คือ ด้านผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับผู้สูงอายุ แบ่งเป็น สภาพแวดล้อม เทคโนโลยีสุขภาพ อาหาร ระบบการเฝ้าระวัง ระบบบริการ ผลกระทบการเปิดการค้าเสรีต่อผลิตภัณฑ์ การบริการและดูแลผู้สูงอายุ และด้านการเพิ่มโอกาส/ศักยภาพทางสังคมให้ผู้สูงอายุ แบ่งเป็น การบริการและการส่งเสริมสุขภาพตลอดจนการดูแล การศึกษา การจัดการและการเข้าถึงทรัพยากร กลไกการจัดสวัสดิการ และการขยายโอกาสการทำงาน
             พบว่างานวิจัยที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากวิทยานิพนธ์และงานวิจัยทั้งสิ้นจำนวน 117 เรื่อง (ข้อมูลเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2554) เริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ถึงปี พ.ศ. 2554  โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมามีผลงานวิจัยด้านผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยด้านการบริการและการส่งเสริมสุขภาพ (ตารางที่ 5)
ตารางที่ 5 จำนวนผลงานวิจัยด้านผู้สูงอายุ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปีต่างๆ
YEAR
#ARTICLES
YEAR
#ARTICLES
2523
1
2543
1
2527
1
2544
4
2529
2
2545
9
2530
2
2546
5
2532
3
2547
12
2533
1
2548
6
2534
2
2549
8
2535
3
2550
7
2536
5
2551
15
2537
2
2552
9
2539
3
2553
10
2540
1
2554
1
2542
6










                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                   การวิเคราะห์ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตามกรอบงานวิจัยที่กำหนด โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ พบว่าสามารถแบ่งงานวิจัยที่ดำเนินการแล้วได้ตามกรอบวิจัย จำนวน 111 เรื่อง (ตารางที่ 6) โดยแบ่งเป็น
  • ด้านผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับผู้สูงอายุ ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุและบริบทของสังคมไทยในมิติต่างๆ คือ
    • สภาพแวดล้อม                                                               จำนวน               2              เรื่อง
    • เทคโนโลยีสุขภาพ                                                         จำนวน               22           เรื่อง
    • อาหาร                                                                              จำนวน               3              เรื่อง
    • ระบบการเฝ้าระวัง                                                            จำนวน               0             เรื่อง
    • ระบบบริการ                                                                     จำนวน               9              เรื่อง
    • ผลกระทบการเปิดการค้าเสรีต่อผลิตภัณฑ์                   จำนวน               0             เรื่อง
    • การบริการและดูแลผู้สูงอายุ                                           จำนวน               6             เรื่อง
  • ด้านการเพิ่มโอกาส/ศักยภาพทางสังคมให้ผู้สูงอายุ ในกลุ่มผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้ กลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องการความช่วยเหลือ และผู้สูงอายุที่ช่วยตัวเองไม่ได้ เพื่อให้มีสุขภาพ/คุณภาพชีวิตที่ดี และมีโอกาสในการทำงานตามศักยภาพและความต้องการ ในประเด็น
    • การบริการสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ และการดูแลระยะยาวในสังคมผู้สูงอายุ จำนวน 50  เรื่อง
    • การให้การศึกษาตลอดชีวิต การเสริมทักษะ/ความรู้              จำนวน     8          เรื่อง
    • การจัดการและการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ                          จำนวน     0          เรื่อง
    • การธำรงซึ่งความเป็นไทย                                                          จำนวน     0          เรื่อง
    • กลไกการจัดสวัสดิการในสังคม                                                 จำนวน    10        เรื่อง
    • การขยายโอกาสในการทำงานให้ผู้สูงอายุ                               จำนวน      0         เรื่อง
            และพบว่ามีงานวิจัยบางรายการไม่สามารถแบ่งเข้ากรอบงานวิจัยที่กำหนดโดยสำนัก งานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้ จำนวน 7 เรื่อง ทั้งนี้อาจเนื่องจากเป็นงานวิจัยที่ดำเนินมาก่อนหน้าการกำหนดกรอบวิจัย และถ้าพิจารณาในรายละเอียดจะเห็นว่าเป็นงานวิจัยในมิติที่มาจากภายในหรือ เกิดขึ้นจากตัวผู้สูงอายุเอง แต่กรอบงานวิจัยที่กำหนดขึ้นนั้นมองจากมิติของการเตรียมความพร้อมของการเข้า สู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นเรื่องภายนอกที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับตัวผู้สูงอายุ
ตารางที่ 6 จำนวนผลงานวิจัยด้านผู้สูงอายุ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามกรอบงานวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปี 2555
ลำดับที่
กรอบงานวิจัย
ชื่อเรื่อง
ผู้แต่ง
หน่วยงาน-ปริญญา
ปีพิมพ์
1
เทคโนโลยีสุขภาพ
การเปรียบเทียบผลการออกกำลังกายโดยวิธีเก้า จัตุรัสกับการขี่จักรยานอยู่กับที่ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับ โฆเลสเตอรอล ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูง และกลูโคสในเลือดของผู้สูงอายุเพศชาย / เกษม สุทธิพงศ์
เกษม สุทธิพงศ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (พลศึกษา) 2536
2536
2
เทคโนโลยีสุขภาพ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มวัยทองในการยอมรับเครื่องช่วยในการเคลื่อนไหว / เกียรติพงษ์ สันตะบุตร
เกียรติพงษ์ สันตะบุตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัญหาพิเศษ. บธ.ม. 2545
2545
3
เทคโนโลยีสุขภาพ
ผลของการออกกำลังกายโดยใช้ท่ารำประกอบเพลง พื้นเมืองอีสานประยุกต์ต่อความสามารถในการทรงตัวและความแข็งแรงของกล้าม เนื้อขาในผู้หญิงสูงอายุ / กนิษฐกร กลิ่นส่ง
กนิษฐกร กลิ่นส่ง, 2510-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (วิทยาศาสตร์การกีฬา) 2551
2551
4
เทคโนโลยีสุขภาพ
ผลของการฝึกก้าวขึ้นลงในน้ำลึกด้วยรองเท้าที่ มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาและการทรงตัวในผู้สูงวัยเพศหญิงอายุ 56-65 ปี / กฤตติกา อาภรณ์รัตน์
กฤตติกา อาภรณ์รัตน์, 2523-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา วิทยานิพนธ์
2551
5
เทคโนโลยีสุขภาพ
ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ โรงพยาบาลค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา / ขนิษฐา โกเมนทร์
ขนิษฐา โกเมนทร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (สุขศึกษา) 2547
2547
6
เทคโนโลยีสุขภาพ
แบบทดสอบสมรรถภาพสำหรับผู้สูงอายุ / คงศักดิ์ จะวะนะ
คงศักดิ์ จะวะนะ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (พลศึกษา) 2546
2546
7
เทคโนโลยีสุขภาพ
ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในความรับผิดชอบของโรงพยาบาลสิงห์บุรี / จำนงค์ ชัยสุวรรณรักษ์
จำนงค์ ชัยสุวรรณรักษ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (สุขศึกษา) 2545
2545
8
เทคโนโลยีสุขภาพ
การสร้างเครื่องวิ่งออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ / ชุลีพร ไกรทุกข์ร้าง
ชุลีพร ไกรทุกข์ร้าง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (พลศึกษา) 2545
2545
9
เทคโนโลยีสุขภาพ
ผลของการยืดเหยียดกล้ามเนื้อโดยใช้อุปกรณ์และไม้ใช้อุปกรณ์ที่มีต่อความอ่อนตัวในผู้สูงอายุ / ณัฐวรรณ ญาณลักษณ์
ณัฐวรรณ ญาณลักษณ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (วิทยาศาสตร์การกีฬา) 2545
2545
10
เทคโนโลยีสุขภาพ
การพัฒนาวีดิทัศน์เรื่อง การดูแลและส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงวัย  สำหรับผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราวาสนะเวศม์ฯ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา / พัฒนา ศิริกุลพิพัฒน์
พัฒนา ศิริกุลพิพัฒน์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศษ.ม. (เทคโนโลยีการศึกษา) 2544
2544
11
เทคโนโลยีสุขภาพ
ประสิทธิภาพของการใช้ชุดคำสอน 3ES โดยคอเต็บต่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุชายที่มาละหมาดวันศุกร์ที่ มัสยิดกลางเขต 2 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา / ภัทรชนิดร์ หวังผล
ภัทรชนิดร์ หวังผล, 2502-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (สุขศึกษา) 2551
2551
12
เทคโนโลยีสุขภาพ
การพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ / มยุรี ถนอมสุข
มยุรี ถนอมสุข, 2503-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สาขาพลศึกษา วิทยานิพนธ์
2549
13
เทคโนโลยีสุขภาพ
ผลของการรำมวยไทยโบราณประยุกต์และแอโรบิกพื้น บ้านที่มีต่อการทรงตัวขณะเคลื่อนที่ ความอ่อนตัว และภาวะความกลัวต่อการหกล้มในผู้สูงอายุเพศหญิง / ฤกษ์ชัย แย้มวงษ์
ฤกษ์ชัย แย้มวงษ์, 2521-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (วิทยาศาสตร์การกีฬา) 2551
2551
14
เทคโนโลยีสุขภาพ
ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยผู้ดูแลวัย รุ่นในการส่งเสริมพฤติกรรม การป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล / วิชชุดา ใจคุ้มเก่า
วิชชุดา ใจคุ้มเก่า, 2506-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (สุขศึกษา) 2548
2548
15
เทคโนโลยีสุขภาพ
เปรียบเทียบผลการออกกำลังกายโดยวิธีเก้าจตุรัส กับการขี่จักรยานอยู่กับที่ ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ / สกุล ลอยล่อง
สกุล ลอยล่อง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (พลศึกษา) 2537
2537
16
เทคโนโลยีสุขภาพ
การเปรียบเทียบผลของการฝึกลีลาศประเภทบอลรูม กับลาตินอเมริกัน ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายและสารเคมีในเลือดของผู้สูงอายุ / สุดใจ พลนารักษ์
สุดใจ พลนารักษ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (พลศึกษา) 2542
2542
17
เทคโนโลยีสุขภาพ
ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อส่งเสริม พฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดปทุมธานี / สุดารัตน์ สันติวงศานนท์
สุดารัตน์ สันติวงศานนท์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (สุขศึกษา) 2545
2545
18
เทคโนโลยีสุขภาพ
รายงานการวิจัยเรื่องการสร้างแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ / สุพิตร สมาหิโต และคณะ
สุพิตร สมาหิโต
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2548
2548
19
เทคโนโลยีสุขภาพ
ผลของการออกกำลังกายโดยการแกว่งแขนที่มีต่อความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดในหญิงสูงอายุ / อวยพร เพชรจันทร์
อวยพร เพชรจันทร์, 2513-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (วิทยาศาสตร์การกีฬา) 2549
2549
20
เทคโนโลยีสุขภาพ
ผลของการฝึกรำมวยไท้เก๊กบนบกและในน้ำที่มีต่อสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุดของผู้สูงอายุเพศหญิง / สุรินทร์ คำประดับเพชร
สุรินทร์ คำประดับเพชร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (วิทยาศาสตร์การกีฬา) 2547
2547
21
เทคโนโลยีสุขภาพ
การศึกษาหาระดับโมเลสเตอรอลในลิโปโปรตีนที่มี ความหนาแน่นสูงในผู้สูงอายุที่ปราศจากโรคหัวใจ : ศึกษาในคนชราที่พำนักในบ้านบางแค / ชวนพิศ แดงสวัสดิ์
ชวนพิศ แดงสวัสดิ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (ชีววิทยา) 2523
2523
22
เทคโนโลยีสุขภาพ
รูปแบบการจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังสูงอายุในเรือนจำกลางคลองเปรม / งามพรรณ แก้วสุทธิพล
งามพรรณ แก้วสุทธิพล
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (สุขศึกษา) 2549
2549
23
กลไกการจัดสวัสดิการ
ปัญหาและต้นทุนในการให้บริการสงเคราะห์ผู้สูงอายุในประเทศไทย / วรรณี พงศ์ธีรพร
วรรณี พงศ์ธีรพร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (เศรษฐศาสตร์) 2530
2530
24
กลไกการจัดสวัสดิการ
การศึกษาโครงสร้างรายได้รายจ่ายของผู้สูงอายุที่ได้รับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพจากรัฐบาลในกรุงเทพมหานคร / อธิพันธ์ วรรณสุริยะ
อธิพันธ์ วรรณสุริยะ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (เศรษฐศาสตร์) 2545
2545
25
กลไกการจัดสวัสดิการ
การถ่ายโอนศูนย์บริการทางสังคมผู้สูงอายุดินแดงสู่กรุงเทพมหานคร / น.รินี เรืองหนู
น.รินี เรืองหนู, 2516-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (รัฐศาสตร์) 2549
2549
26
กลไกการจัดสวัสดิการ
การสร้างระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนิน งานของสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ / สมสุดา ผู้พัฒน์, จุฬารัตน์ วัฒนะ
สมสุดา ผู้พัฒน์
สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ : มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร 2552
2552
27
กลไกการจัดสวัสดิการ
รายงานการศึกษาการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของ สท. ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ในระดับผลลัพธ์
สมสุดา ผู้พัฒน์
สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ ร่วมกับ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, 2554
2554
28
กลไกการจัดสวัสดิการ
การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของ สท. ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ในระดับผลลัพธ์ / สมสุดา ผู้พัฒน์, จุฬารัตน์ วัฒนะ
สมสุดา ผู้พัฒน์
สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ ร่วมกับ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ , 2553
2553
29
กลไกการจัดสวัสดิการ
รายงานการวิจัยการศึกษาการดำเนินงานขยายผลโครงการอาสาสมัครดูแล ผู้สูงอายุที่บ้าน / ผู้วิจัย นาถ พันธุมนาวิน … [และคนอื่น ๆ]
นาถ พันธุมนาวิน
สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2549
2549
30
กลไกการจัดสวัสดิการ
การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการบ้านพักผู้สูงอายุ ในเขตมีนบุรี จังหวัด กรุงเทพมหานคร/ มณธิรา สิทธิชัย
มณธิรา สิทธิชัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัญหาพิเศษ. บธ.ม. 2542
2542
31
กลไกการจัดสวัสดิการ
การประเมินผลการดำเนินงานโครงการกองทุนดูแลผู้สูงอายุที่ขาดที่พึ่ง / สมสุดา ผู้พัฒน์, จุฬารัตน์ วัฒนะ
สมสุดา ผู้พัฒน์
สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร, 2551
2551
32
กลไกการจัดสวัสดิการ
การศึกษาผลการดำเนินงานศูนย์อเนกประสงค์สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน / ผู้วิจัย อนุพร สุวรรณวาจกกสิกิจ … [และคนอื่น ๆ]
อนุพร สุวรรณวาจกกสิกิจ
สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2552
2552
33
การบริการและการดูแลผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุกับการรับบริการที่บ้านพักฉุกเฉินคนชรา / วาสนา ฤทธิ์ลิขิต
วาสนา ฤทธิ์ลิขิต
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. คศ.ม. 2532
2532
34
การบริการและการดูแลผู้สูงอายุ
พฤติกรรมผู้บริโภคของผู้สูงอายุคนไทยในธุรกิจท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา / พินรัฐ ไพโรจน์
พินรัฐ ไพโรจน์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัญหาพิเศษ. บธ.ม. 2552
2552
35
การบริการและการดูแลผู้สูงอายุ
ความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์บริการสาธารณสุข ภาค 2 กรุงเทพมหานคร / อรุณี บุญอุรพีภิญโญ
อรุณี บุญอุรพีภิญโญ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (พัฒนาสังคม) 2542
2542
36
การบริการและการดูแลผู้สูงอายุ
รายงานการวิจัยเรื่องความพึงพอใจ : ตัวแปรกลางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ / โดย อัจฉรา นวจินดา, ขจีจรัส ภิรมย์ธรรมศิริ
อัจฉรา นวจินดา
ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, 2534
2534
37
การบริการและการดูแลผู้สูงอายุ
ความพึงพอใจของผู้มารับบริการต่อศูนย์อเนกประสงค์สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง / ศตรรรตน์ รัตนพงศ์
ศตรรรตน์ รัตนพงศ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (พัฒนาสังคม) 2553
2553
38
การบริการและการดูแลผู้สูงอายุ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพอใจของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค / อาภากร ชัยสุริยา
อาภากร ชัยสุริยา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (สังคมวิทยาประยุกต์) 2543
2543
39
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
สภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่ : ศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์ผู้สูงอายุปิยะมาลย์ / อนีฆา ชัยเนตร
อนีฆา ชัยเนตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (การศึกษาผู้ใหญ่) 2534
2534
40
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
พฤติกรรมของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล / เฉลิมศรี สุขสมบูรณ์
เฉลิมศรี สุขสมบูรณ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (คหกรรมศาสตรศึกษา) 2539
2539
41
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนการเคหะรามอินทรา เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร / พรรณทิภา ศัพทะนาวิน
พรรณทิภา ศัพทะนาวิน, 2523-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (พัฒนาสังคม) 2551
2551
42
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในบ้านพักคนชราในเขตกรุงเทพมหานคร / ภรณี เกตกินทะ
ภรณี เกตกินทะ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์. คศ.ม. 2542
2542
43
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
ความผาสุกของผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี / รักชนก ชูพิชัย
รักชนก ชูพิชัย, 2520-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (จิตวิทยาชุมชน) 2550
2550
44
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
การมีส่วนร่วมของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุในการส่งเสริมสุขภาพ: ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม / รัชดา พรพิไลสวัสดิ์
รัชดา พรพิไลสวัสดิ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (รัฐศาสตร์) 2548
2548
45
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
ความต้องการร่วมกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลรามาธิบดี / รุ่งทิพา เฉลิมการนนท์
รุ่งทิพา เฉลิมการนนท์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว) 2537
2537
46
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ชายวัยทอง / วรีภรณ์ วงษ์บวรนันท์
วรีภรณ์ วงษ์บวรนันท์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัญหาพิเศษ. ศศ.ม. (พัฒนาสังคม) 2548
2548
47
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
การปรับตัวของผู้สูงอายุที่มารับบริการจากศูนย์บริการสาธารณสุข 53            สาขาท่าทราย เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร / สมใจ ม่วงอวยพร
สมใจ ม่วงอวยพร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัญหาพิเศษ. ศศ.ม. (พัฒนาสังคม) 2551
2551
48
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัวกับ การสนับสนุนทางสังคม ที่มีต่อผู้สูงอายุ : ศึกษาเฉพาะกรณี ชมรมข้าราชการและครูอาวุโสของกระทรวงศึกษาธิการ / สุรีย์มาศ นาคะผดุงรัตน์
สุรีย์มาศ นาคะผดุงรัตน์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (พัฒนาสังคม) 2542
2542
49
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมกิจกรรมของผู้สูงอายุในศูนย์บริการผู้สูงอายุดินแดง กรุงเทพมหานคร / อรุณพร พิทักษ์
อรุณพร พิทักษ์, 2525-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (สังคมวิทยาประยุกต์) 2553
2553
50
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
ความต้องการด้านร่างกายและจิตใจ กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ / โดย อัจฉรา นวจินดา, ขจีจรัส ภิรมย์ธรรมศิริ
อัจฉรา นวจินดา
ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, 2533
2533
51
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบางศรีเมือง จังหวัดนนทบุรี / วิภาวี จิตวิสุทธิพนัง
วิภาวี จิตวิสุทธิพนัง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัญหาพิเศษ. ศศ.ม. (รัฐศาสตร์) 2551
2551
52
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
การปฏิบัติตัวด้านการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ในเขตรับผิดชอบสถานนีอนามัยโคกสง่า ตำบลดงหม้อทองใต้ อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร / ไพโรจน์ เกษรศรี
ไพโรจน์ เกษรศรี
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สารนิพนธ์สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต(ต่อเนื่อง)ภาคพิเศษ 2547
2547
53
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม / ทัดชาวดี สิทธิสาร
ทัดชาวดี สิทธิสาร, 2527-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (พัฒนาสังคม) 2552
2552
54
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
การสนับสนุนทางสังคม การเห็นคุณค่าในตนเองกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี / ปรียาภรณ์ ตั้งเพียร
ปรียาภรณ์ ตั้งเพียร, 2525-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (จิตวิทยาชุมชน) 2551
2551
55
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
ความว้าเหว่ การรับรู้ความสามารถของตนเอง การสนับสนุนทางสังคมและความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี / พิศมัย สิโรตมรัตน์
พิศมัย สิโรตมรัตน์, 2508-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (จิตวิทยาชุมชน) 2553
2553
56
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
อัตมโนทัศน์ การสนับสนุนทางสังคมกับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุของฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สำนักงานเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร / อุษา วงษ์อนันต์
อุษา วงษ์อนันต์, 2524-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (จิตวิทยาชุมชน) 2551
2551
57
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุบ้านดงห้วยเปลือย หมู่ที่5 ตำบลดงหม้อทอง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร / เพลิน ลุนาวัน
เพลิน ลุนาวัน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สารนิพนธ์สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต(ต่อเนื่อง)ภาคพิเศษ 2547
2547
58
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
รายงานการวิจัยเรื่องความต้องการทางด้านสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุในต่างจังหวัด / เสาวภา วัชรกิตติ
เสาวภา วัชรกิตติ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คณะสังคมศาสตร์
2529
59
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
การปฏิบัติตัวด้านการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ในเขตรับผิดชอบสถานนีอนามัยโคกสง่า ตำบลดงหม้อทองใต้ อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร / ไพโรจน์ เกษรศรี
ไพโรจน์ เกษรศรี
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สารนิพนธ์สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต(ต่อเนื่อง)ภาคพิเศษ 2547
2547
60
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุบ้านท่าสะอาด หมู่ที่1ตำบลท่าสะอาดอำภอเซกา จัหวัดหนองคาย / กรรณิการ์ พลวงค์
กรรณิการ์ พลวงค์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สารนิพนธ์สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต(ต่อเนื่อง)ภาคพิเศษ 2547
2547
61
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุบ้านโคกนาดี ตำบลแมดนาท่ม อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร / จริยา สุภาทอง
จริยา สุภาทอง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สารนิพนธ์สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต(ต่อเนื่อง)ภาคพิเศษ 2547
2547
62
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่ง เสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลชลประทาน อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี / จุรีย์ เลาหพงษ์
จุรีย์ เลาหพงษ์, 2496-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (สุขศึกษา) 2549
2549
63
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
พฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุหญิง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า / ณัฐกานต์ ธิยะ
ณัฐกานต์ ธิยะ, 2522-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (สุขศึกษา) 2551
2551
64
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
การดูแลรักษาสุขภาพตนเองของสมาชิกชมรม มก. อาวุโส / ตรีนุช ศรีสวัสดิ์
ตรีนุช ศรีสวัสดิ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (การศึกษาผู้ใหญ่) 2545
2545
65
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม / ธนธัช ธนิกกุล
ธนธัช ธนิกกุล, 2505-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (สุขศึกษา) 2553
2553
66
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี / น้ำทิพย์ มะลิ
น้ำทิพย์ มะลิ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (สุขศึกษา) 2545
2545
67
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่ง เสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ             ในตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี / พนัชญา ประดับสุข
พนัชญา ประดับสุข, 2515-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (สุขศึกษา) 2552
2552
68
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อส่งเสริม การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ในจังหวัดปทุมธานี / พรทิพย์ ธีระกาญจน์
พรทิพย์ ธีระกาญจน์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (สุขศึกษา) 2544
2544
69
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า / พัชรี ลัคคะวิสสุต
พัชรี ลัคคะวิสสุต, 2509-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (สุขศึกษา) 2549
2549
70
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลศรีธัญญา / ภิรมย์ ทับทิมเทศ
ภิรมย์ ทับทิมเทศ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (สุขศึกษา) 2546
2546
71
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของครอบครัวในการส่ง เสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนหมู่บ้านปิ่นเจริญ 2 เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร / รวิภา บุราณเศรษฐ
รวิภา บุราณเศรษฐ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (สุขศึกษา) 2546
2546
72
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของครอบครัวในการส่ง เสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ในพื้นที่บริการ โรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม / รุ่งรัตน์ ปิยธโร
รุ่งรัตน์ ปิยธโร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (สุขศึกษา) 2545
2545
73
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
ผลของการฝึกออกกำลังกายต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ / วีรจิต เรืองสวัสดิ์
วีรจิต เรืองสวัสดิ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (พลศึกษา) 2540
2540
74
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโรคเบาหวานศูนย์สุขภาพชุมชนโพนแพง ตำกบลหนองสนม อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร / วีระศักดิ์ บาลจบ
วีระศักดิ์ บาลจบ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สารนิพนธ์สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต(ต่อเนื่อง)ภาคพิเศษ 2547
2547
75
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
รูปแบบการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการดูแลสุขภาพตน เองของแกนนำผู้สูงอายุในระดับหมู่บ้าน : กรณีศึกษาอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา / ศรีสุรางค์ สุขสวัสดิ์
ศรีสุรางค์ สุขสวัสดิ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (สุขศึกษา) 2544
2544
76
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี / สมชาย ต่อเพ็ง
สมชาย ต่อเพ็ง, 2513-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (สุขศึกษา) 2552
2552
77
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
ความต้องการของผู้สูงอายุเกี่ยวกับการได้รับ การดูแลจากบุตรบ้านดอนเสียดเหนือ ตำบลบ้านต้อง อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย / สุดาวดี ปรีดีสนิท
สุดาวดี ปรีดีสนิท
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สารนิพนธ์สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต(ต่อเนื่อง)ภาคพิเศษ 2547
2547
78
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
ผลของโปรแกรมนันทนาการที่มีต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ / สุพิชชา ชุ่มภาณี
สุพิชชา ชุ่มภาณี, 2527-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (นันทนาการ) 2551
2551
79
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตน เองด้านสุขภาพ ของผู้สูงอายุในตำบลเจริญเมือง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย / สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล
สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, 2526-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (สังคมวิทยาประยุกต์) 2553
2553
80
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลดำเนินสะดวก / อมรรัตน์ ศรีโชติ
อมรรัตน์ ศรีโชติ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัญหาพิเศษ. ศศ.ม. (รัฐศาสตร์) 2548
2548
81
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
การดูแลสุขภาพด้วยตนเองของผู้สูงอายุSelf Health Care of the Elderly / อรวรรณ์ เลิศสุบินรักษ์
อรวรรณ์ เลิศสุบินรักษ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สารนิพนธ์สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต(ต่อเนื่อง)ภาคพิเศษ 2547
2547
82
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลบ้านปรก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม / อัญชลี นพรัตน์
อัญชลี นพรัตน์, 2507-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (สุขศึกษา) 2552
2552
83
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในจังหวัดอ่างทอง / อารญา โถวรุ่งเรือง
อารญา โถวรุ่งเรือง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (สุขศึกษา) 2544
2544
84
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์สูงอายุในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร / ธรรมนูญ ครองบุญเรือง
ธรรมนูญ ครองบุญเรือง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (พัฒนาสังคม) 2553
2553
85
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุ ตำบลบ้านโพธิ์ จังหวัดนครราชสีมา / วาสุกรี เชวงกุล
วาสุกรี เชวงกุล
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. คศ.ม. 2550
2550
86
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุบ้านท่าสะอาด หมู่ที่1ตำบลท่าสะอาดอำภอเซกา จัหวัดหนองคาย / กรรณิการ์ พลวงค์
กรรณิการ์ พลวงค์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สารนิพนธ์สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต(ต่อเนื่อง)ภาคพิเศษ 2547
2547
87
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุบ้านดงห้วยเปลือย หมู่ที่5 ตำบลดงหม้อทอง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร / เพลิน ลุนาวัน
เพลิน ลุนาวัน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สารนิพนธ์สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต(ต่อเนื่อง)ภาคพิเศษ 2547
2547
88
การบริการและการส่งเสริมสุขภาพ
รายงานการวิจัยเรื่องความต้องการทางด้านสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุในต่างจังหวัด / เสาวภา วัชรกิตติ
เสาวภา วัชรกิตติ
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2529
2529
89
การศึกษา
เหตุผลที่ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน / คงวิทย์ ราษฎร์เจริญ
คงวิทย์ ราษฎร์เจริญ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (การศึกษาผู้ใหญ่) 2539
2539
90
การศึกษา
แนวทางการจัดบริการทางการศึกษาให้กับผู้สูงอายุในชนบท / จิราภรณ์ จอกแก้ว
จิราภรณ์ จอกแก้ว
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (การศึกษาผู้ใหญ่) 2535
2535
91
การศึกษา
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าเรียนการ ศึกษานอกระบบโรงเรียน สายสามัญระดับประถมศึกษาของนักศึกษาผู้ใหญ่จังหวัดเลย / จีระวรรณ เปตามานัง
จีระวรรณ เปตามานัง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (การศึกษาผู้ใหญ่) 2536
2536
92
การศึกษา
ความต้องการทางการศึกษานอกโรงเรียนของผู้สูงอายุที่สังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงของกระทรวงศึกษาธิการ / วิรัชช แผ้วสกุล
วิรัชช แผ้วสกุล
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (การศึกษาผู้ใหญ่) 2527
2527
93
การศึกษา
การจัดการศึกษาผู้สูงอายุในหลักสูตรวิชาสังคมศึกษา ตามทรรศนะของนักวิชาการ ในเขตกรุงเทพมหานคร / สุนทร เอี่ยมวิจารณ์
สุนทร เอี่ยมวิจารณ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (ศึกษาศาสตร์-การสอน) 2532
2532
94
การศึกษา
ความต้องการของนักศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ ระดับที่ 4 ที่มีต่อการเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนผู้ใหญ่ของจังหวัดสกลนคร / อดิศักดิ์ ชูวาธิวัฒน์
อดิศักดิ์ ชูวาธิวัฒน์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (การศึกษาผู้ใหญ่) 2530
2530
95
การศึกษา
การจัดการศึกษาผู้สูงอายุในหลักสูตรวิชาสังคมศึกษา ตามทรรศนะของนักวิชาการ ในเขตกรุงเทพมหานคร / สุนทร เอี่ยมวิจารณ์
สุนทร เอี่ยมวิจารณ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (ศึกษาศาสตร์-การสอน) 2532
2532
96
การศึกษา
การผลิตรายการนิตยสารโดยใช้แถบบันทึกเสียง สำหรับผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค กรุงเทพมหานคร / จารุวัฒน์ โพธาราม
จารุวัฒน์ โพธาราม
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศษ.ม. (เทคโนโลยีการศึกษา) 2542
2542
97
ระบบบริการ
ศูนย์ส่งเสริมผู้สูงอายุ / ชาญ ลิมป์บูรณะสมบัติ
ชาญ ลิมป์บูรณะสมบัติ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. สถ.บ. 2550
2550
98
ระบบบริการ
สถานพักตากอากาศระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุหลังวัยเกษียณตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืน / ธนพร วงษ์ดนตรี
ธนพร วงษ์ดนตรี
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. สถ.บ. 2551
2551
99
ระบบบริการ
โครงการบ้านเดียวกัน (ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูเด็กกำพร้าและผู้สูงอายุ) / ธิติสรรค์ ทิพยโสตนัยนา
ธิติสรรค์ ทิพยโสตนัยนา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. สถ.บ. 2552
2552
100
ระบบบริการ
สถานฟื้นฟูศักยภาพและตากอากาศผู้สูงอายุ / วรรัตน์ ศิริจิรกาล
วรรัตน์ ศิริจิรกาล
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. สถ.บ. 2548
2548
101
ระบบบริการ
โครงการบ้านพักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุวัยเกษียณจังหวัดนนทบุรี / ปาณิสรา รักสม
ปาณิสรา รักสม
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ภ.สถ.บ. 2552
2552
102
ระบบบริการ
โครงการบ้านพักอาศัย และที่พักฟื้นฟูสำหรับผู้สูงอายุ / ธนวตี ตรงสกุล
ธนวตี ตรงสกุล
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ภ.สถ.บ. 2550
2550
103
ระบบบริการ
โครงการศูนย์เสริมสร้างและพัฒนาทักษะทาง คอมพิวเตอร์สำหรับผู้สูงอายุ กรณีการปรับปรุงพื้นที่ศูนย์บริการทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ ดินแดง / ชัยนันท์ กาแก้ว
ชัยนันท์ กาแก้ว
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. สถ.บ. 2549
2549
104
ระบบบริการ
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อหาที่ตั้งที่เหมาะสมสำหรับชุมชนผู้สูงอายุ, จังหวัดอุดรธานี / วิชัย ล้อเรืองสิน
วิชัย ล้อเรืองสิน, 2516-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ผส.ม. 2550
2550
105
ระบบบริการ
การออกแบบฐานข้อมูลสุขภาพ กิจกรรมและสวัสดิการผู้สูงอายุ / สุภาพร ทองมา
สุภาพร ทองมา, 2516-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (พัฒนาสังคม) 2550
2550
106
สภาพแวดล้อม
ความพึงพอใจที่มีต่อเสื้อโอกาสปกติของสตรีสูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลตำรวจ / อุราวรรณ วัฒนะสุข
อุราวรรณ วัฒนะสุข
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. คศ.ม. 2536
2536
107
สภาพแวดล้อม
ความพึงพอใจในแบบเสื้อโอกาสปกติของผู้สูงอายุชาย ในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลตำรวจ กรุงเทพมหานคร / วิยะดา ยืนตระกูล
วิยะดา ยืนตระกูล
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. คศ.ม. 2535
2535
108
อาหาร
การพัฒนาเครื่องดื่มสุขภาพชนิดผงจากข้าวกล้องหอมมะลิงอกสำหรับผู้บริโภคสูงอายุ / ดวงจงกล สุทธิเนียม
ดวงจงกล สุทธิเนียม, 2525-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (พัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร) 2550
2550
109
อาหาร
การบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ / มาลี ภัตรสุพรรณาคาร
มาลี ภัตรสุพรรณาคาร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. คศ.ม. 2536
2536
110
อาหาร
การแบ่งกลุ่มผู้บริโภคสูงอายุ สำหรับการพัฒนากลยุทธ์เทคโนโลยีการบรรจุ / วิภาวี กระตุฤกษ์
วิภาวี กระตุฤกษ์, 2523-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (เทคโนโลยีการบรรจุ) 2551
2551
111

ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับอาหารของคนชรา ในสถานสงเคราะห์คนชราภาคกลาง / ดวงฉัตร์ มีพงษ์
ดวงฉัตร์ มีพงษ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. คศ.ม. 2536
2536
112

ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงเจตจำนงล่วงหน้าเพื่อใช้สิทธิที่จะตายอย่างสงบเมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิตในผู้สูงอายุ / สุภาวดี วรพันธุ์
สุภาวดี วรพันธุ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (สุขศึกษา) 2546
2546
113

ความคาดหวังของผู้ปฏิบัติงานในสถานสงเคราะห์ คนชราต่อบทบาทการให้บริการสงเคราะห์ผู้สูงอายุของสถานสงเคราะห์คนชราบ้าน บางแค / ธนเนตร ฉันทลักษณ์วงศ์
ธนเนตร ฉันทลักษณ์วงศ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (สังคมวิทยาประยุกต์) 2546
2546
114

ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการปฏิบัติตัวของวัยรุ่น / ขนิษฐา เนตรล้อมวงศ์
ขนิษฐา เนตรล้อมวงศ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. คศ.ม. 2535
2535
115

การตั้งเป้าหมายส่วนบุคคล ความสำเร็จในอาชีพ การปรับตัวหลังเกษียณ และความพึงพอใจในชีวิตของวุฒิอาสาธนาคารสมอง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล / ธนิตา สมบูรณ์
ธนิตา สมบูรณ์, 2526-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (จิตวิทยาชุมชน) 2553
2553
116

ความวิตกกังวลต่อความตาย การมองโลกในแง่ดี ความผาสุกทางจิตวิญญาณ และการปรับตัวต่อความตายของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง           ในคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี / ขจรศรี แสนปัญญา
ขจรศรี แสนปัญญา, 2527-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (จิตวิทยาชุมชน) 2553
2553
117

ทัศนคติต่อความตาย การตระหนักรู้ในตนเอง การสนับสนุนของครอบครัวกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา / ดุษฎี กฤษฎี
ดุษฎี กฤษฎี, 2525-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์. วท.ม. (จิตวิทยาชุมชน) 2551
2551
  ที่มา: ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
             จากผลการวิเคราะห์งานวิจัยด้านผู้สูงอายุของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เห็นได้ว่างานวิจัยส่วนใหญ่เกี่ยวกับ การบริการสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ และการดูแลระยะยาวในสังคมผู้สูงอายุ ถึง 50  เรื่อง โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับ คุณภาพชีวิต และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในกลุ่มต่างๆ ลำดับที่ 2 เทคโนโลยีสุขภาพ 22 เรื่อง โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับเทคนิคการออกกำลังกายด้วยวิธีต่างๆ ลำดับที่ 3 กลไกการจัดสวัสดิการในสังคม จำนวน 10 เรื่อง ซึ่งเน้นการจัดศูนย์บริการผู้สูงอายุ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ กองทุนดูแลผู้สูงอายุ  ลำดับที่ 4 ระบบบริการ จำนวน 9 เรื่อง ซึ่งเน้นการออกแบบบ้าน สถานฟื้นฟูศักยภาพ และบ้านพักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีในการจัดการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และฐานข้อมูล ลำดับที่ 5 การให้การศึกษาตลอดชีวิต การเสริมทักษะ/ความรู้ จำนวน 8 เรื่อง
             หากจะมองในแง่ความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แล้ว งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุยังมีแง่มุมอีกมากที่น่าสนใจ เช่น การวิจัยด้านอาหารสำหรับผู้สูงอายุที่มีความต้องการแตกต่างกันตามสุขภาวะ การบริการและดูแลผู้สูงอายุ การวิจัยด้านเทคโนโลยีสุขภาพด้านเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการดำรงชีวิตของผู้ สูงอายุ เช่น electric wheelchair หรือ ubiquitous mobile telemedicine system for elderly หรือ Fall detection system สำหรับผู้สูงอายุ ตลอดจน ระบบสารสนเทศเพื่อการเข้าถึงความรู้ของผู้สูงอายุ เช่น digital social media for senior life, development of knowledge base for decreasing building related accidents in daily life เป็นต้น
 เอกสารอ้างอิง
            โครงการกิจกรรมการเชื่อมโยงงานวิจัยกับภาคนโยบาย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (2553). ผลกระทบของสังคมผู้สูงอายุต่อระบบเศรษฐกิจไทย. 10 TRF Policy Brief.
            ไพโรจน์ วงศ์วุฒิวัฒน์ (2551). สังคมผู้สูงอายุ: เราจะเตรียมรับมือกันอย่างไร. ใน จุลสารธนาคารกรุงเทพ (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.bangkokbank.com/download/EX_Aging_Society_TH.pdf.


                                                                                                                                                                                                         
                                                                                                                                                                                                           นักเอกสารสนเทศ ชำนาญการพิเศษ