หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประเพณีบุญบั้งไฟ

                                                                                                                               นางสาวทัศรินทร์  นาวารี
                                                                                                                               คณะพยาบาลศาสตร์ ปี2
                                                                                                                               รหัสนิสิต  5395110010
                                                     ประเพณีบุญบั้งไฟ
                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                    ประเพณีบุญบั้งไฟ  เป็นอีกประเพณีหนึ่งที่มีความสำคัญของจังหวัดร้อยเอ็ดและยังเป็นหนึ่งในฮีตสิบสองของชาวอีสานอีกด้วย นิยมทำกันในเดือนหกหรือเดือนเจ็ด ซึ่งถือเป็นช่วงที่เข้าสู่การทำนา  ตกกล้า  หว่านไถ เพราะตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ชาว อีสาน มีความเชื่อว่า ถ้าปีใดไม่จัดงานบุญบั้งไฟ ฝนฟ้าก็จะไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดความแห้งแล้ง แต่ถ้าปีใดจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะตกต้องตามฤดูกาล จะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ งานบุญบั้งไฟจึงถือเป็นงานประเพณี ประจำปีที่สำคัญของชาวร้อยเอ็ด
                       งานบุญบั้งไฟ ยังมีตำนานเล่าขานสืบต่อกันมานาน จากนิทานพื้นบ้านเรื่องผาแดงนางไอ่  และเรื่องพญาคันคาก (คางคก) ล้วนแต่กล่าวถึงการจุดบั้งไฟเพื่อให้แถน(เทวดา)ได้บันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลประเพณีบุญบั้งไฟจึงถือเป็นประเพณีสำคัญที่จะละเลยไม่ได้  งานบุญบั้งไฟเป็นงานใหญ่ที่ลงทุนสูงและการจัดงานจะต้องเป็นไปตามความเห็นชอบของชุมชน  การทำบั้งไฟสมัยก่อนใช้ไม้ไผ่ลำขนาดใหญ่ที่ สุดทะลวงปล้องให้ถึงกัน  ภายนอกจะใช้ตอกไม้ไผ่ถักเป็นเชือกมัดมัดรอบลำไผ่ให้แน่นเพื่อไม่ให้ลำไผ่แตก ส่วนหัวปล้องลำสุดท้ายจะถูกอุดด้วยแผ่นไม้หนาพอสมควร  แล้วทำการบรรจุหมื่อ (ดินปืน) ให้แน่นด้วยการตำหรือคานดีดคานงัด  และเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปจากลำไม้ไผ่จึงกลายเป็นท่อเหล็กหรือท่อประปา และตอนหลังมาหันมาใช้ท่อพีวีซีแทน  และการทำบั้งไฟมีด้วยกันทั้งหมด 4 ขนาด คือ บั้งไฟร้อย  บั้งไฟหมื่น  บั้งไฟแสน  และบั้งไฟล้าน รูปแบบของงานนั้นยังแบ่งแยกออกจากกันเป็นงานใหญ่ๆสองงาน  คือ งานวันแรกชาวบ้านจากคุ้มต่างๆจำบั้งไฟของแต่ละคุ้มมาตกแต่งประดับประดาให้สวยงามและนำมาแห่โชว์ด้วยขบวนรำประกอบดนตรีพื้นเมือง  ส่วนวันที่สองของงานจะเป็นการประกวดบั้งไฟ คือการจุดบั้งไฟขึ้นสูง
                  ในช่วงที่มีการจุดบั้งไฟนั้นนับเป็นช่วงตื่นเต้นและสนุกสนานที่สุด โดยเฉพาะช่างบั้งไฟจะต้องลุ้นมากกว่าใคร เพราะหากบั้งไฟไม่ขึ้นก็จะถูกโยนลงบ่อโคลนนัยว่าเพื่อเป็นการลงโทษ แต่ปัจจุบันนั้น ไม่ว่าบั้งไฟจะขึ้นหรือไม่ขึ้นก็จะมีการโยนโคลน แต่ทำเพื่อความสนุกสนานมากกว่า
                                                                                                 http://www.panyathai.or.th
นางสาวทัศรินทร์  นาวารี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น